พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

เรือนคำเที่ยง เป็นเรือนไทยล้านนาที่สวยงามที่สุดหลังหนึ่งหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย ขณะนี้ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ และศิลปวัตถุของชาวล้านนาตามวิถีชุมชนเกษตรกรรมในชนบทเมื่อครั้งอดีต

The Adventures of Tokto (Part 1)Kamthieng House Museum of The Siam Society

"การผจญภัยของต๊กโต" เป็นวิดีโอแอนิเมชั่นที่เล่าเรื่องราวของการสร้างเรือนล้านนา โดยมีตัวเอกเป็นตุ๊กแกที่ชื่อเจ้าต๊กโต ซึ่งเป็นสัตว์ที่มักพบเห็นได้ง่ายตามบ้านเรือนในประเทศไทย นอกจากการสร้างเรือนแล้วผู้ชมจะได้เห็นวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และสภาพแวดล้อมจำลองของหมู่บ้านล้านนาในอดีตด้วย

The Adventures of Tokto Part 2Kamthieng House Museum of The Siam Society

การผจญภัยของต๊กโตตอนที่สอง จะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายของสิ่งของต่างๆ ที่เห็นในตอนแรกได้ดียิ่งขึ้น

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หน้าที่หลักของพิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยงคือการสื่อให้เห็นระบบความคิด ความเชื่อ และจิตวิญญาณของชาวล้านนา ด้วยวิถีการอยู่อาศัยในเรือนล้านนาสมัยศตวรรษที่ 19 เพื่อสะท้อนอุดมคติและความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจไปสู่การใช้ชีวิตตามวิถีแห่งล้านนา โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบต่างๆในการดำเนินชีวิต พิธีกรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ที่สะท้อนโลกทัศน์ของชาวล้านนา ถูกบอกเล่าด้วยเครื่องใช้ ลวดลาย ภาพถ่าย วิดีโอ และเสียง

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

การปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีกรรมอันซึมซาบอยู่ในชีวิตประจำวันและในจินตนาการของชาวล้านนานั้น เป็นผลรวมที่เกิดจากสายสัมพันธ์อันแนบแน่นและพลวัตของวัฒนธรรมล้านนากับธรรมชาติ มรดกตกทอดภายในครอบครัว และงานหัตถศิลป์ พลังธรรมชาติทั้งที่เห็นได้และมองไม่เห็นล้วนได้รับความเคารพ บ่งถึงการให้เกียรติบรรพบุรุษและความทรงจำของชุมชน และการติดต่อกับภูตผี ธรรมชาติปรากฏในพิธีกรรมต่างๆ ในหลายรูปแบบ เช่น เป็นวิญญาณแห่งพลังงานดั้งเดิมของสรรพสิ่ง และเป็นบุคลาธิษฐานของวัฏจักรในวิถีชีวิตเกษตรกรรม

แก่นแท้ของวิถีล้านนาก็คือความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า มนุษย์จำเป็นต้องสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างสมดุล เป็นลักษณะพื้นฐานในสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างยั่งยืนระหว่างปัจเจก ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สิ่งพิเศษคือโลกทัศน์ของชาวล้านนา (ดังแฝงอยู่ในคัมภีร์ว่าด้วยระเบียบจักรวาลและเรื่องเล่าปรัมปรา) นั้นแสดงออกผ่านความเชื่อและจารีตที่เคร่งครัด โดยเฉพาะข้อปฏิบัติส่วนบุคคลซึ่งกำหนดจริยวัตรอย่างถี่ถ้วนสำหรับปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน พื้นที่ และภูตผี

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

เรือนคำเที่ยงถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2387 ริมแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยแม่แซ้ด เหลนเจ้าเมืองแช่ ตัวเรือนมีองค์ประกอบที่แสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในเรือนล้านนาในสมัยก่อน เมื่อเจ้าของเรือนสิ้นแล้ว เรือนล้านนาจะเป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกสาว หรือญาติทางฝ่ายแม่ เรือนคำเที่ยงก็เช่นเดียวกัน เรือนคำเที่ยงเป็นตัวอย่างของเรือนล้านนาที่งดงามที่สุดหลังหนึ่งที่หลงเหลืออยู่

นิทรรศการถาวรภายในเรือน จัดแสดงงานฝีมือดั้งเดิม และการประกอบพิธีกรรมตามความนิยมของพ่อค้าใหญ่ปลายสมัยล้านนาในช่วงชีวิตของแม่แซ้ดจนถึงแม่คำเที่ยงผู้เป็นหลานสาวและที่มาของชื่อเรือน ร้อยปีแรกของเรือนตรงกับระยะที่วัฒนธรรมล้านนาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อวิถีชีวิตดั้งเดิมค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยรสนิยมแบบตะวันตก แต่เรือนคำเที่ยงยังคงรักษาจิตวิญญาณล้านนาไว้ได้ตลอดมา ตราบจนกระทั่งศาสตราจารย์ไกรสีห์ นิมมานเหมินทร์ ได้ย้ายเรือนคำเที่ยงมายังสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษา เป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาภาคเหนือของไทย

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

พิพิธภัณฑ์บ้านคำเที่ยง ผสมผสานการจัดแสดงแนวพิพิธภัณฑ์เข้ากับบริบทและบรรยากาศของบ้านประวัติศาสตร์ ความสะดุดตาได้รับการเสริมด้วยมุมแสง และลีลาของการจัดวางเข้ากันได้ดีกับสภาพของสถานที่ วัตถุถูกจัดแสดงเป็นกลุ่มให้สอดคล้องกับการใช้งานในอดีตของแต่ละพื้นที่และตามแนวการจัดแสดงโดยรวม แต่ข้าวของบางส่วนก็ไม่ใช่สิ่งที่มีไว้ใช้งานในพื้นที่นั้นๆ เสมอไป หากแต่ถูกเลือกมาเพื่อให้เห็นความงดงาม และให้เข้ากับรูปแบบวัฒนธรรมล้านนาซึ่งเป็นหัวใจของการนำเสนอ

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

นิทรรศการปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งนำเสนอชีวิตและบรรยากาศแวดล้อมเรือนล้านนาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งจะให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และพิธีกรรมของคนล้านนาที่ถูกนำมาตีความใหม่ เป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ร่วมสมัยน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการผลักดันของ Renaud Pierard นักออกแบบนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ใหม่ๆ หลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยงสอดคล้องกับกระแสการจัดพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาในเวลานั้น มีการใช้ภาพและเสียงดั้งเดิมเป็นส่วนประกอบของนิทรรศการ

ทีมงานวิจัยเรือนคำเที่ยง ใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับดนตรีล้านนา ประเพณีการแหล่ การสวดประกอบพิธีกรรม รวมทั้งสามารถสืบเสาะหานักแหล่และนักสวดในขนบต่างๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ประเพณีการร้อง การแหล่เพลงประกอบพิธีกรรม ดนตรี และการฟ้อนรำที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผี และจิตวิญญาณของคนล้านนามีให้ชมใน 5 พื้นที่หลักของเรือนคำเที่ยง

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

ผู้ชมจะได้ยินขับจ๊อยและพิณเปี๊ยะเพลงเกี้ยวพาราสีตั้งแต่นอกชานเรือนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการชมพิพิธภัณฑ์ ภายในพื้นที่หลักของเรือน มีจอภาพที่แสดงประวัติการสืบทอดเรือนคำเที่ยงทางสายสกุลมารดา พร้อมภาพยนตร์โบราณแสดงการฟ้อนผีมดผีเม็ง เสียงที่ได้ยินสลับไปมาระหว่างเพลงฟ้อนกับเพลงจ๊อย แทรกด้วยการเล่าเรื่องประวัติตระกูลเจ้าของเรือนในภาษาล้านนา

ในครัว ผู้ชมจะได้ชมหนังสั้นที่ถ่ายแม่จำปา หญิงล้านนาในชุดพื้นเมือง ทำแกงแคกบในครัวที่ผู้ชมกำลังยืนอยู่นั่นเอง เสียงทำครัวถูกนำมาประกอบในห้องนี้ด้วย ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนกำลังดูแม่จำปาทำกับข้าวอยู่ต่อหน้า

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

ที่หลองเข้าหรือยุ้งข้าว ผู้ชมจะอยู่ในบรรยากาศของการประกอบพิธีสู่ขวัญข้าวและสู่ขวัญควายซึ่งประกอบพิธีโดยปู่จารย์หนึ่งในไม่กี่คนที่หลงเหลืออยู่ในดินแดนล้านนา

ส่วนใต้ถุนเรือนเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งที่นักเรียนและผู้เข้าชมทั่วไปจะได้ชมวีดิทัศน์แอนิเมชันสามมิติแสดงวิถีชีวิตชุมชนล้านนาและสถาปัตยกรรมล้านนา ตุ๊กแกชื่อต๊กโตจะนำเสนอเรื่องราวของฝายกั้นน้ำและพิธีแรกนา

เนื้อหาหลักของแอนิเมชันอีกตอนหนึ่งกล่าวถึงวิธีการก่อสร้างและการประกอบเรือนล้านนา ผู้ออกแบบวีดิทัศน์ชุดนี้คือ Imagimax และนอกจากใช้ในเรือนคำเที่ยง วีดิทัศน์ชุดนี้ยังถูกนำไปใช้เผยแพร่พิพิธภัณฑ์ตามนิทรรศการเพื่อการศึกษาในที่ต่างๆ ด้วย

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

การใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยเหล่านี้เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการนำเสนอโดยไม่ให้เด่นเกินเนื้อหาหลัก เพราะเราเชื่อว่าการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบใหม่ๆ ในการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ชมชาวไทยที่ไม่อาจเข้าถึงสาระของมรดกและวัฒนธรรมเนื่องจากเนื้อหาที่เป็นวิชาการมากเกินไปและการนำเสนอแบบเก่า

การจัดแสดงของเรือนคำเที่ยงได้นำจอภาพและเสียงประกอบเข้ามาใช้ ระบบการจัดแสดงมีการออกแบบใหม่ให้เข้ากับบทบรรยายใหม่ แต่ทั้งหมดยังคงรักษาความเป็นเรือนแบบดั้งเดิมไว้ได้

ซึ่งการรื้อถอน การประกอบใหม่ และการกระทำใดๆ ที่สำคัญกับตัวเรือนรวมถึงศาลพระภูมิประจำเรือน ล้วนผ่านการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีและความเชื่อแบบล้านนาแล้ว

หำยนต์ลายเมฆไหล (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์

หำยนต์ที่จัดแสดงอยู่บนเรือนคำเที่ยง เป็นไม้แกะสลักที่มีลวดลายอ่อนช้อยประณีตงดงาม หำยนต์ประจำเรือนวางอยู่เหนือบานประตูห้องนอนของเรือนล้านนา เชื่อกันว่ามีพลังปกป้องคนในครอบครัวจากสิ่งไม่ดีได้ และยังเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าภายในเป็นพื้นที่ส่วนตัว บุคคลภายนอกที่เป็นคน "ต่างผี" หรือมาจากต่างสายตระกูลต้องขออนุญาตผีปู่ผีย่าก่อนจึงจะเข้าไปได้

มีความเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับความหมายของ "หำยนต์" บ้างเชื่อว่าเป็นสิ่งแทนพลังอำนาจของผีบรรพบุรุษ บ้างว่าเป็นพลังของบุรุษผู้ครองเรือน ความหมายของคำว่า "หำ" หมายถึงอัณฑะของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยนต์" ในภาษาล้านนาจะมาจากรากศัพท์ที่เป็นคำสันสกฤต แปลว่า ยันตรา ซึ่งหมายถึงภาพหรือสัญลักษณ์ที่มีเวทมนต์

นักวิชาการทางเหนือหลายท่านพบว่าการตีความของคำนี้ยังมีปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตาม ขนาดของหำยนต์แต่ละบ้านจะไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่มาจากขนาดของเท้าบุรุษผู้ครองเรือนคูณ 3 หรือ 4 เท่า โดยปกติแล้ว เมื่อเปลี่ยนบุรุษผู้ครองเรือนก็จะมีการทำพิธีถอดแผ่นหำยนต์อันเดิมออก และประกอบพิธีอีกครั้งเมื่อจะนำหำยนต์ใหม่ขึ้นแทนที่

หำยนต์ที่จัดแสดงบนเรือนคำเที่ยงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคอลเลกชั่นซึ่งสยามสมาคมฯได้เหมาซื้อมาเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 รวมหลายร้อยชิ้น แต่ละชิ้นมีอายุกว่า 200 ปีขึ้นไป

หำยนต์ลายเมฆไหล แกะสลักลวดลายประดิษฐ์จากลายเมฆและลายเครือเถากนกคาบได้อย่างลงตัว ด้วยลักษณะลายเมฆที่ซับซ้อนดุจการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลายเมฆไหล

หำยนต์ลายหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ (ปูรณฆฏะ) (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์ลายหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ (ปูรณฆฏะ) ลวดลายแบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นกรอบของภาพ สลักลวดลายคล้ายตัวเหงาหรือคล้ายใบไม้ม้วนวางลายต่อเนื่องกัน คั้นตรงกลางของทุกด้านด้วยลายดอกไม้ ๔ กลีบ ส่วนที่สองเป็นลายประธานตรงกลาง ทำเป็นแจกันดอกไม้ ซึ่งเปรียบได้กับหม้อหรือแจกัน “ปูรณฆฏะ” ของศิลปะอินเดียโบราณ หมายถึงความร่ำรวย ส่วนในศิลปะล้านนา หมายถึงประทีบหรือแสงสว่างดุจปัญญา

หำยนต์ลายเมฆ (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์ลวดลายเมฆ เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านนา ซึ่งประดิษฐ์มาจากลายเมฆในศิลปะจีน มีความหมายถึงการอยู่เย็นเป็นสุข ความอุดมสมบูรณ์ รูปแบบที่มีลายกนกเข้ามาประกอบเช่นนี้ เป็นแบบที่นิยมในสมัยหลัง

หำยนต์ลายเครือเถาขมวดก้นหอย (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์แกะสลักลวดลายคล้ายลายเครือเถาขมวดก้นหอย มีตัวกนกคาบประกอบที่ก้านลาย แต่เป็นลวดลายแบบประดิษฐ์ให้แตกต่างจากลายต้นแบบ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของช่างล้านนา มีการแบ่งลายเป็นสองข้างเหมือนกัน ซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะล้านนา

หำยนต์ลายเครือเถา ที่มีรูปดอกไม้ตรงกลาง (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์แกะสลักลวดลายเครือเถา ขมวดเป็นก้นหอย ก้านลายประกอบด้วยกนกคาบ ตรงกลางทำลายดอกไม้ คล้ายลายใบเทศ ปลายสองข้างทำลายกลีบบัวประกอบกนก ลวดลายเช่นนี้เป็นการแบ่งทั้งสองข้างเหมือนกัน ซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะล้านนา

หำยนต์รลายประแจจีนกับใบไม้ม้วน (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์ลายประแจจีนกับใบไม้ม้วน ลวดลายที่แกะสลักแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนบนเป็นลายคล้ายลายกระจังแบบภาคกลาง เป็นรูปกลีบบัว ถัดลงมาเป็นลายประแจจีน ซึ่งหมายถึงความสมบูรณ์ ยั่งยืน ส่วนล่างตรงกลางทำลายดอกไม้ประดิษฐ์คล้ายลายประจำยาม ประกอบลายใบไม้ม้วน ขอบล่างทำเป็นวงโค้งแบบปีกกาเพื่อให้เป็นซุ้มสำหรับผู้อยู่อาศัยเดินผ่านเพื่อรับเอาความสุขสมบูรณ์ตลอดเวลา

หำยนต์ลายซุ้มประตูโค้งกับเครือเถา (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

หำยนต์แกะสลักลวดลายเป็นสองส่วน ส่วนบนเป็นลายช่องกระจก ส่วนล่างทำเป็นซุ้มโค้ง ประกอบลายเครือเถาก้านต่อดอก ทำให้เห็นถึงความร่มเย็นของผู้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้

หำยนต์ลายประแจจีน (Not Applicable - Not Applicable) โดย UnknownKamthieng House Museum of The Siam Society

แผ่นไม้ประดับอาคารมีเชิงโค้งเป็นซุ้มประตู มีแถบด้านบนแกะสลักเป็นลายคล้ายกุญแจของจีน ส่วนล่างเป็นลายพรรณพฤกษาที่ได้สัดส่วนงดงาม สอดคล้องกันทั้งซ้ายและขวา

เครดิต: เรื่องราว

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด