(กลางวัน) “ซุ้มประตูโขง” เป็นองค์ประกอบทางศิลปะสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ ทำหน้าที่เป็นประตูที่แบ่งแยกเขตแดนระหว่างแดนที่ยุ่งเหยิงสับสน กับเขตแดนแห่งความสงบ “โขง” มาจากภาษาพื้นเมืองทางเหนือ แปลว่า “เขต” หรือ “บริเวณ” ในด้านคติความเชื่อของชาวไทย “ซุ้มประตูโขง” เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เห็นชัดถึงการเข้าสู่เขตแดนหนึ่งๆ
"ไผฟาง" เคยเป็นขื่อเรียกเขตการปกครองในเมืองจีนโบราณ โดยขอบเขตที่ใหญ่ที่สุดคือ "ฟาง" ซึ่งแต่ละแห่งมีรั้วกำแพงล้อมและมีการป้องกันอย่างแน่นหนา และแบ่งออกเป็น "ไผ" ย่อยๆ ในปัจจุบัน คำ "ไผฟาง" ใช้เรียกซุ้มประตูทางเข้าในรูปแบบสิ่งก่อสร้างตามคติความเชื่อของชาวจีน
ทั้ง “ซุ้มประตูโขง” และ "ไผฟาง" มาจากคติความเชื่อที่แตกต่างกันของคนไทยและคนจีน แต่ด้วยความคล้ายคลึงและมีความพ้องต้องกันในเรื่องของคุณสมบัติและการใช้งาน ซึ่งเมื่อสืบค้นทำให้พบว่ามาจากการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านเส้นทางสายไหม ทำให้เห็นถึงความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมซึ่งถูกส่งต่อและพัฒนากลายมาเป็นรูปแบบที่สามารถพบได้ทั่วไปในสังคมไทยซึ่งมีประชากรส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายจีน
รูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรมถูกส่งต่อด้วยวัฒนธรรม เกิดการแตกแขนงและมีพัฒนาการที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม “ซุ้มประตูโขง” และ "ไผฟาง" เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมที่เกิดการแยกตัวและกลับมาหลอมรวมกันอีกครั้ง โดยมีอิทธิพลจากการเคลื่อนตัวและปรับเปลี่ยนของผู้คน
โครงการ “Samyan Heaven Gate” เป็นโครงการศิลปะที่แสดงภาพแทนทางความคิดเรื่อง การผสมผสานทางวัฒนธรรมตังกล่าว เพื่อชี้ให้เห็นและสร้างความเข้าใจในความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ผ่านเรื่องเล่าทางวัฒนธรรม
สนใจเรื่อง Nature ใช่ไหม
รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ
เรียบร้อยแล้ว
Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้