Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ผลงานจิตรกรรมที่มองอย่างผิวเผินเป็นการสร้างสรรค์ในแนวทางเรียลลิสติกอันเรียบง่าย แต่หากลองพิจารณารายละเอียดในผลงานดูแล้วนั้นจะพบว่าบรรยากาศในภาพรวมมีความต่างออกไป
เป็นแนวทางเหมือนจริงที่สร้างจินตนาการขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคของการใช้สี
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ศิลปินให้ความสำคัญกับบริบทของสังคมรอบตัว รายละเอียดเพียงเล็กน้อยที่สามารถนำมาสอดประสานเข้ากับเทคนิคกระบวนการทางจิตรกรรมจนสามารถสร้างความพิเศษให้กับผลงาน
ไม่ใช่เพียงการนำเสนอภาพเหมือนของกลุ่มคนแต่เป็นการถ่ายทอดมุมมองของศิลปินที่มีต่อตัวบุคคลนั้นๆอย่างน่าสนใจ
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
แม้จะเป็นเพียงการจัดวางองค์ประกอบของกลุ่มคนในท่าทางต่างๆ แต่แฝงไว้ซึ่งนัยยะสำคัญด้วยองค์ประกอบของภาพที่จัดอย่างลดหลั่นกัน จุดเด่นจุดรองของตำแหน่งและท่าทางของแต่ละบุคคล
แสงและเงาไม่ได้ถูกจัดอยู่ในทิศทางเดียวกันในภาพ ทิศทางของแสงถูกแบ่งเป็นสองด้านอย่างชัดเจน หากแต่สามารถอยู่ร่วมกันภายในองค์ประกอบเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์และน่าดึงดูด
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
จุดเด่นของภาพ แม้ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในระยะหน้าสุด แต่มีการเลือกใช้โทนสีที่สว่างสุดเพื่อขับเน้นหญิงสาวตรงกลางภาพรวมถึงโต๊ะเป็นวัตถุที่ทำหน้าที่นำสายตาไปสู่จุดเด่นบริเวณกลางภาพอย่างลงตัว
ชายในท่ายืนด้านหลังสุดมีการเก็บรายละเอียดของแสงสว่างที่ลดลงโดยใช้โทนสีที่คล้ายกันกับพื้นหลังของภาพเพื่อผลักระยะให้ไกลออกไป เช่นเดียวกับชายที่นั่งบริเวณหลังสุดทางฝั่งขวาก็ใช้วิธีดังกล่าว
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ชายด้านหน้ามีสีผิผิวที่ศิลปินเลือกใช้โทนสีแดงถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่สร้างความโดดเด่นท้าทายในผลงาน
โดยศิลปินต้องการสื่อสารถึงบุคลิกและอารมณ์ออกมาผ่านชุดสี สีหน้า และท่าทาง ด้วยการเลือกคู่สีตรงข้ามระหว่างสีผิวซึ่งตัดกันกับสีของเสื้อผ้าอย่างสีเขียวอ่อนโดยสิ้นเชิง
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ศิลปินสามารถหยิบคู่สีตรงข้ามที่จัดจ้านมาใช้กับสีผิวของแต่ละคนได้อย่างลงตัว แม้กระทั่งรายละเอียดของเสื้อผ้า เส้นผม ชุดสีที่ศิลปินเลือกใช้ในการเพ้นท์แต่ละคนนั้นเป็นคู่สีตรงข้ามที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับบรรยากาศในภาพรวม
แต่ยังคงสามารถเก็บรายละเอียดในด้านความเป็นสีผิวได้อย่างมีชีวิต
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ความพิเศษอีกประการคือความสด และความเด่นชัดของสี
โดยทางเทคนิคนั้นเมื่อศิลปินใช้พู่กันที่สะอาดจะสามารถคงความสดชัดของเนื้อสีในแต่ละสี
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ซึ่งมีผลต่อการมองเห็นภาพรวมของผลงานในเรื่องของแสง บรรยากาศ และมิติในภาพ
สายตาที่จ้องมองออกมาในทิศทางเดียวกันของทั้งหกคนในภาพเสมือนเป็นจุดเชื่อมโยงในผลงานและการสื่อสารกับคนดู
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
ด้วยบุคลิกที่แสดงออกผ่านสีหน้าและท่าทาง
ศิลปินเพียงต้องการนำอุปนิสัยของแต่ละคนที่มีความใกล้ชิดและมีความโดดเด่น
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
โดยนำเอาเอกลักษณ์การสื่อสารอารมณ์ที่ต่างกันของแต่ละบุคคลออกมานำเสนอ ผ่านกายภาพของผลงาน ด้วยกระบวนการที่มีความท้าทายต่อทฤษฎีในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล
Friends (1969) โดย Chakrabhand PosayakritArt Centre Silpakorn University
จักรพันธุ์ โปษยกฤต ถือเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ผลงานมีความโดดเด่นในเรื่องของความพิถีพิถันในการใช้สีและการแสดงออกของแสงในภาพ ซึ่งสามารถสะท้อนความมีชีวิตและสื่อสารอารมณ์ออกมาได้อย่างมีเสน่ห์
ผลงานศิลปกรรมนี้เป็นสวนหนึ่งของคลังสะสมศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นผลงานนที่ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ดูแลและจัดการโดยหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
สนใจเรื่อง Visual arts ใช่ไหม
รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ
เรียบร้อยแล้ว
Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้