ของขวัญแห่งมิตรภาพ ๑

ส่วนที่ ๑: การพบกันในช่วงแรก ภาพ“ทัศนียภาพของเมืองบางกอก” พ.ศ. ๒๓๖๕ ภาพเขียนฝีมือของ เอช. เอ. ซี. จากหนังสือ Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Courts of Siam and Cochin - China ของจอห์น ครอว์เฟิร์ด พ.ศ. ๒๓๗๑

โดย Queen Sirikit Museum of Textiles

ของขวัญแห่งมิตรภาพ ระหว่าง ราชอาณาจักรไทย และ สหรัฐอเมริกา

ภาพเหมือนประธานาธิบดีเจมส์มอนโร (1817)Queen Sirikit Museum of Textiles

ของขวัญแห่งมิตรภาพ
นับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของความสัมพันธ์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า “Great and Good Friend” ขึ้นต้นจดหมายที่เขียนกราบบังคมทูลพระกรุณาพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม คำขึ้นต้นอย่างเป็นทางการนี้ชวนให้หวนนึกถึงสมัยที่การติดต่อกันระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกายังจำกัดอยู่เพียงการส่งราชทูตและหนังสือเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีเท่านั้น ซึ่งก็เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเจริญงอกงามไปมากเพียงใดตลอดระยะเวลา ๒๐๐ ปี

ภาพเหมือนประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร พ.ศ. ๒๓๖๐
ฝีมือของชาร์ลส์ เบิร์ด คิง พิมพ์แกะลายเส้นโดยกู๊ดแมน แอนด์ พิกก็อต

ได้รับความอนุเคราะห์จากหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา; LC-USZ62-16956

การติดต่อครั้งแรก (1822)Queen Sirikit Museum of Textiles

การติดต่อครั้งแรก

สี่ทศวรรษหลังจากที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาประกาศเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ในขณะที่พ่อค้าวาณิชอเมริกันต่างกำลังหาหนทางค้าขายกับประเทศนอกมหาสมุทรแอตแลนติกให้มากขึ้นกว่าเดิม สยามก็กำลังวางแผนรับมือกับการล่าอาณานิคมของประเทศยุโรปที่รุกล้ำเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมและระยะทางที่ห่างไกลจะแบ่งแยกทั้งสองประเทศ แต่สยามและสหรัฐอเมริกาต่างก็หมายที่จะผูกมิตรไมตรีอันดีต่อกัน
ทั้งสองประเทศติดต่อกันเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๖๑ ในสมัยที่ระยะทางที่ห่างไกลยังกั้นกลางประเทศทั้งสองในด้านวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ แต่กระนั้น การมาเยือนสยามของชาวอเมริกันใน พ.ศ. ๒๓๗๖ ก็ทำให้มีการจัดทำสนธิสัญญาฉบับแรกระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศในทวีปเอเชีย และสร้าง “ไม้ตรีมีความราบคาบต่อกันชั่วฟ้าแลดิน” มาจนถึงทุกวันนี้ ในยุคที่การเดินทางโดยเรือระหว่างสองประเทศต้องใช้เวลาแรมเดือน การที่สยามเข้าร่วมงานเวิลด์ แฟร์ของสหรัฐอเมริกาหลายครั้ง ก็เสมือนเป็นการยกราชอาณาจักรสยามมาไว้ใกล้สหรัฐอเมริกา

ภาพ“ทัศนียภาพของเมืองบางกอก” พ.ศ. ๒๓๖๕ ภาพเขียนฝีมือของ เอช. เอ. ซี. จากหนังสือ
Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Courts of Siam and Cochin - China ของจอห์น ครอว์เฟิร์ด พ.ศ. ๒๓๗๑

จดหมายจาก ดิศ บุญนาค ถึงประธานาธิบดีมอนโร จดหมายจาก ดิศ บุญนาค ถึงประธานาธิบดีมอนโร (1818)Queen Sirikit Museum of Textiles

จดหมายจากดิศ บุนนาค (พ.ศ. ๒๓๑๑-๒๓๙๘) ที่มีไปยังประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร (พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๗๔) เป็นการติดต่อกันทางจดหมายเป็นครั้งแรกระหว่างรัฐบาลสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสหรัฐอเมริกา และลงนามโดย “Phaja Surivongmontri” (พระสุริยวงศ์มนตรี) ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ของดิศ บุนนาค ขุนนางผู้มีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หรือตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จดหมายฉบับนี้กล่าวถึงนายสตีเฟน วิลเลียมส์ (พ.ศ. ๒๓๒๔-๒๓๘๗) กัปตันเรือชาวอเมริกันที่นำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกับน้ำตาลที่กรุงเทพมหานคร และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ภายหลังได้เสด็จผ่านพิภพเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๓๑-๒๓๙๔)

นายวิลเลียมส์ก็ได้มีส่วนช่วยเริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในโลกตะวันออก

จดหมายจากพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) ถึงประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร พ.ศ. ๒๓๖๑
ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกเอกสารโบราณ หอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา; James Monroe Papers Series I. เอกสารเลขที่ 4784-4785

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (1833)Queen Sirikit Museum of Textiles

การเยือนของนายโรเบิร์ตส์

นายเอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ (พ.ศ. ๒๓๒๗-๒๓๗๙) ตัวแทนของสหรัฐอเมริกา เดินทางเยือนจักรวรรดิและราชอาณาจักรที่สำคัญ ๆ ในทวีปเอเชีย เพื่อจัดทำข้อตกลงทางการค้าในนามของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นภารกิจทางการทูตภารกิจแรกของประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่นี้ นายโรเบิร์ตส์และลูกเรือของเรือรบอเมริกัน พีค็อกเดินทางมาถึงอ่าวสยามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๖ ซึ่งใช้เวลาเกือบหนึ่งปีนับจากวันที่ออกเดินทางจากเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหรัฐอเมริกา ร่างใน พ.ศ. ๒๓๗๖ และให้สัตยาบันใน พ.ศ. ๒๓๗๙ ๓๖๖ x ๕๓ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของสยามได้เพียงแค่ครึ่งศตวรรษเท่านั้นเมื่อครั้นที่นายโรเบิร์ตส์และคณะเดินทางมาถึงสยาม แต่กระนั้น ก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่พลุกพล่านภายในช่วงเวลาไม่นาน

ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่บางกอก นายโรเบิร์ตส์มักพบปะพูดคุยกับดิศ บุนนาค ซึ่งในขณะนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (กรมพระคลัง) และรับผิดชอบด้านการเจรจาสนธิสัญญา

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหรัฐอเมริกา ร่างใน พ.ศ. ๒๓๗๖ และให้สัตยาบันใน พ.ศ. ๒๓๗๙ ๓๖๖ x ๕๓ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ

สามปีหลังจากที่มีการร่างสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศในทวีปเอเชีย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงประทับพระราชลัญจกรรูปไอราพตเป็นการให้สัตยาบันอย่างสมบูรณ์ พร้อมกันกับรัฐสภาสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีมาร์ติน แวน บิวเรน (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๐๕)

เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่เข้าใจภาษาของอีกฝ่ายมากพอ จึงมีการเขียนเนื้อความเป็นภาษาโปรตุเกสและภาษาจีนกำกับ “ไว้เปนพยานเรื่องความ” ด้วย

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหรัฐอเมริกา ร่างใน พ.ศ. ๒๓๗๖ และให้สัตยาบันใน พ.ศ. ๒๓๗๙ ๓๖๖ x ๕๓ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ

จุดประสงค์หลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ เพื่อกำหนดระบบอากรที่ใช้กำกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยพ่อค้าชาวอเมริกัน ด้วยเช่นนั้น จึงเป็นการส่งเสริมการค้าด้วย ถึงแม้ว่าความสำเร็จของสนธิสัญญาฉบับนี้จะมีข้อจำกัดด้วยระยะทางอันห่างไกลที่กั้นกลางระหว่างทั้งสองประเทศ แต่ก็นับว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นก้าวที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและสยามในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในฐานะที่เป็นประเทศที่ทรงอำนาจของโลก

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหรัฐอเมริกา ร่างใน พ.ศ. ๒๓๗๖ และให้สัตยาบันใน พ.ศ. ๒๓๗๙ ๓๖๖ x ๕๓ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ

ช้างพระราชทานอันลือเลื่อง (2018-03-17)Queen Sirikit Museum of Textiles

ช้างพระราชทานอันลือเลื่อง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชสาส์นไปยังประธานาธิบดีเจมส์ บูแคนัน โดยมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานช้างหนึ่งคู่เพื่อ “ไว้ให้สืบพืชพันธุ์ในทวีปอเมริกา” หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับกัปตันชาวอเมริกันคนหนึ่ง และทรงทราบว่าไม่มีช้างอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานงาช้างด้วยอีกหนึ่งคู่ “เพื่อจะให้เปนยศปรากฏนามของกรุงสยามยิ่งขึ้นไป”

จดหมายตอบจากประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๕

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ, 6158611

พระราชสาสน์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีบูคานัน(ภาษาไทย) พระราชสาสน์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีบูคานัน(ภาษาไทย) (1861-02-14)Queen Sirikit Museum of Textiles

เมื่อพระราชสาส์นของพระองค์ไปถึงกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. นายอับราฮัม ลินคอล์น (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๐๘) ก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และประเทศก็เข้าสู่สงครามกลางเมือง ประธานาธิบดีลินคอล์นได้ปฏิเสธพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสุภาพ ใน พ.ศ. ๒๔๐๕ โดยชี้แจงว่าภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกาไม่ “เหมาะแก่การขยายพันธุ์ช้าง” ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าความขัดแย้งในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวมีส่วนทำให้ประธานาธิบดีลินคอล์นตัดสินใจเช่นนั้น

ถึงแม้สยามจะไม่ได้ส่งช้างคู่นั้นเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังสหรัฐอเมริกา แต่น้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสารตอบกลับอันสุภาพจากประธานาธิบดีลินคอล์นก็ได้แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพที่ทั้งสองประเทศมีต่อกัน

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประธานาธิบดีเจมส์ บูแคนัน พ.ศ. ๒๔๐๔

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ; 6923529

พระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีแฟรงคลินเพียร์ซ (1856-07-17) โดย องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติQueen Sirikit Museum of Textiles

พระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๙

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ (ตัดมาบางส่วน) พ.ศ. ๒๓๙๙

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ; 6923526

พระราชสาสน์จากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีแฟรงคลินเพียร์ซ (1856-07-17)Queen Sirikit Museum of Textiles

Letter from King Mongkut to President Franklin Pierce (excerpt), 1859

Courtesy of the National Archives and Records Administration, General Records of the United States Government; 6923542

พระนามบัตรจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีแฟรงคลินเพียร์ซ พระนามบัตรจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงประธานาธิบดีแฟรงคลินเพียร์ซ (1861)Queen Sirikit Museum of Textiles

บัตรพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๔๐๒

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ; 6923541

ฉลองพระองค์ครุย สมบรูณ์ (1947)Queen Sirikit Museum of Textiles

ฉลองพระองค์ครุย
เสื้อคลุมปักทองอันประณีตซึ่งเรียกว่า “ฉลองพระองค์ครุย” เป็นฉลองพระองค์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าตามขัตติยราชประเพณี โดยมีต้นกำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้น นอกจากเจ้านายในราชสำนักจะทรงฉลองพระองค์ครุยแล้ว ฉลองพระองค์ครุยยังเป็นของขวัญที่มอบให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญในต่างประเทศ เพื่อเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตอีกด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๕๑๙) พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และประธานสมัชชาสหประชาชาติ (พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐) ในกาลต่อมา ประทานเครื่องราชอิสริยยศนี้แก่สถาบันสมิธโซเนียน ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๕) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงฉลองพระองค์ครุยชุดนี้ ขณะที่ทรงเข้าร่วมพิธีของสยาม ในภายหลัง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระโอรสในพระองค์ ก็ทรงฉลองพระองค์ครุยชุดนี้ด้วยเช่นกัน

ฉลองพระองค์ครุยนี้โดยลักษณะแล้วมีความเปราะบาง เนื่องจากเป็นงานปักด้ายทองอันละเอียดอ่อนซึ่งมีแนวโน้มที่จะชำรุดหรือทำปฏิกิริยาออกซิเดชันได้โดยง่าย ในการเตรียมฉลองพระองค์ครุยนี้เพื่อการขนส่งและการจัดแสดง ได้มีการเย็บฉลองพระองค์ครุยด้วยมือเพื่อให้ด้าย ตะเข็บ และลวดลวยที่ปักบนฉลองพระองค์ครุยที่รุ่ยออกมามีความคงทนขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการใส่แผ่นป้องกันไม่ให้ด้ายเสียดสีกันเอง เนื่องจากน้ำหนักและความเปราะบางของฉลองพระองค์ครุยชุดนี้ จึงต้องจัดแสดงโดยการวางบนพื้นที่แทบจะเรียบสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้ตะเข็บชำรุด

ฉลองพระองค์ครุย
ของขวัญประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แก่สถาบันสมิธโซเนียน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๙๘ x ๗๙ ซม.
ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน ; E-385867-0;
ถ่ายโดยจิม ดิลอเรโต

ผ้านุ่งสำหรับขุนนาง (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

ผ้านุ่งสำหรับขุนนาง
มีการใช้กรรมวิธีสองวิธีจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการทอผ้านุ่งผืนนี้ ซึ่งก็คือ การมัดหมี่ ด้วยการย้อมด้ายพุ่งก่อนนำไปทอ และการทอเสริมด้วยด้ายพุ่งสีทอง ที่เรียกว่าการทอผ้ายก เช่นเดียวกับเครื่องถมที่ใช้ในราชสำนัก การออกแบบผ้านุ่งปูมเขมรผืนนี้ โดยเฉพาะแถบสองเส้นริมขอบผ้า แสดงให้เห็นว่าทำมาให้ขุนนางนุ่ง ข้าราชสำนักเท่านั้นที่ใช้ผ้าชนิดนี้

ผ้านุ่งสำหรับขุนนาง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ๙๖ x ๓๑๙ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E89-0;
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต

ขันถมทอง (1856) โดย สถาบันสมิธโซเนียนQueen Sirikit Museum of Textiles

นอกจากนี้ บรรดาของขวัญที่พระราชทานแก่ประธานาธิบดีแฟลงคลิน เพียร์ซ ยังทัดเทียมใกล้เคียงกับเครื่องอิสริยยศที่พระราชทานแก่ข้าราชสำนัก และถือได้ว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงฐานันดรศักดิ์และการยอมรับเข้าสู่ราชสำนักสยาม

ขันถมทอง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ๑๑.๒ x ๒๑.๕ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E63-0; E65-0, E66-0
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต และลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน และเคท ดี. เชอร์วูด

พานรองถมทอง (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาแฮร์ริสเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ พระองค์ก็ได้พระราชทานเครื่องถม ผ้า และศาสตราวุธ ซึ่งมีความหมายมิใช่เป็นแต่เพียงของขวัญเท่านั้น หากยังหมายถึงทรงเชื้อเชิญแขกเมืองให้มายังราชสำนักสยามอีกทางหนึ่งด้วย

พานรองถมทอง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ๑๐.๕ x ๒๑.๑ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E63-0; E65-0, E66-0
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน และเคท ดี. เชอร์วูด

กาน้ำถมทอง (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

กาน้ำถมทอง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ๒๒.๒ x ๑๖.๒ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E63-0; E65-0, E66-0
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน และเคท ดี. เชอร์วูด

กรรไกรเครื่องตัดผมถมทอง (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

กรรไกรเครื่องตัดผมถมทอง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ความยาว ๓๕.๓ ซม.
ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E63-0; E65-0, E66-0
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต และลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน

ชุดเครื่องถมตะทอง (1876)Queen Sirikit Museum of Textiles

ชุดเชี่ยนหมากถมตะทองและชุดเครื่องแป้งถมตะทอง กาน้ำ ซองพลู พานรอง ขัน โถปริก และกระโถนปากแตรใหญ่
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่สถาบันสมิธโซเนียน พ.ศ. ๒๔๑๙

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; ซ้าย: E27150-0, E27153-0, E27155-0, E27156;
ถ่ายโดยจิม ดิลอเรโต

ชุดเชี่ยนหมากถมตะทองและชุดเครื่องแป้งถมตะทอง กาน้ำ ซองพลู พานรอง ขัน โถปริก และกระโถนปากแตรใหญ่
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่สถาบันสมิธโซเนียน พ.ศ. ๒๔๑๙
ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; ขวา E27149-0, E27153-0, E27157-0;
ถ่ายโดยจิม ดิลอเรโต

ชุดอาวุธ (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

ดาบกับกริชเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจที่บ่งบอกถึงฐานันดรศักดิ์ในราชสำนักสยาม เช่นเดียวกับสิ่งของหลายชิ้นที่ประกอบรวมกันเป็นชุดข้าวของที่บ่งบอกถึงฐานันดรศักดิ์ อาวุธเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความเป็นพหุสังคมของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดรับวัฒนธรรมจากหลายประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงญี่ปุ่น และหมู่เกาะแถบคาบสมุทรมลายูด้วย

ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักไม้แก้ว (ด้านบน)
ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E100-0;
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน

ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักถมทอง (ตรงกลาง)
ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ; 5923141

กริชเหล็กไหลมลายู และฝักไม้แก้ว (ด้านล่าง)
ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E100-0;
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน และเฟร็ด โชชาร์ด

ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักไม้แก้ว
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E100-0;
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน

ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักถมทอง
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีเจมส์ บูแคนัน (ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นเป็นผู้รับ) พ.ศ. ๒๔๐๔ ยาว ๘๖.๔ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากแผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ; 5923141

กริชเหล็กไหลมลายู และฝักไม้แก้ว
ของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ ความยาว ๔๒.๕ ซม.

ได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายมานุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียน; E100-0;
ถ่ายโดยเจมส์ ดิลอเรโต ลูเซีย อาร์เอ็ม มาร์ติโน และเฟร็ด โชชาร์ด

ภาพเหมือนประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

ภาพเหมือนประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ
ศิลปินไม่ทราบชื่อ ของขวัญจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๙๙

ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากร ราชอาณาจักรไทย

ภาพเหมือนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (1856)Queen Sirikit Museum of Textiles

ภาพเหมือนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน
ชิ้นนี้สันนิษฐานว่าเป็นผลงานของเรมบรันต์ พีล (พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๔๐๓) และภาพเหมือน Patriae Pater ของประธานาธิบดีคนแรกของพีล ที่แขวนอยู่ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกาและทำเนียบขาว พีลวาดงานชิ้นนี้ขึ้นใหม่ จนเสร็จครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๖๖ และก็กลับมาแก้อีกหลายต่อหลายครั้งตลอดช่วงชีวิตของเขา ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่างานชิ้นนี้เป็นของแท้ที่พีลวาดขึ้น -

ของขวัญจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๙๙
๙๒ x ๗๙ ซ.ม.
ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากร ราชอาณาจักรไทย

เครดิต: เรื่องราว

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
เรื่องราวจาก Queen Sirikit Museum of Textiles