Making Moving Image Tells (TH) Part I

นิทรรศการ ‘เมื่อเรื่องเล่าขยับได้’ สัมผัสศิลปะการ ‘เล่าเรื่อง’ ผ่านเทคนิคแอนิเมชันหลากหลายรูปแบบ เพื่อค้นพบความหมายของการเล่าเรื่องในรูปแบบแอนิเมชันของคุณเอง

แอนิเมชันถูกนิยามขึ้นอย่างหลากหลาย ผ่านกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้ แอนิเมเตอร์บางคนอาจบอกว่าแอนิเมชันคือศิลปะแห่งการสร้างชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิต บางคนอาจมองว่าแอนิเมชันเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากภาพนับร้อยนับพันร้อยเรียงกันที่อาจมีหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ทั้งหมดนี้ สิ่งที่ถูกนิยามร่วมกันในงานแอนิเมชัน คือกระบวนการสร้างภาพลวงตาผ่านภาพเคลื่อนไหวที่ทำงานกับ ‘พื้นที่’ และ ‘เวลา’

Making Moving Image Tells - cover 2 (2022-08-16) by TCDCThailand Creative & Design Center

เมื่อแอนิเมชันคือศิลปะแห่งการสร้างภาพลวงตาแบบหนึ่ง พื้นฐานการทำงานของแอนิเมชันจึงไม่ใช่แค่การสร้างภาพที่เป็น ‘ความต่อเนื่องของการรับรู้’ แต่ต้องมีความต่อเนื่องที่เชื่อมโยงกับความหมายและความรู้สึก 

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ผลงานแอนิเมชันจึงกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในฐานะผู้สร้างประสบการณ์ผ่านการเคลื่อนไหว

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับคณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต, สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และ Graphy Animation จัดทำนิทรรศการออนไลน์ ‘Making Moving Image Tells เมื่อเรื่องเล่าขยับได้’ ที่จะพาทุกคนมาสัมผัสศิลปะการ ‘เล่าเรื่อง’ ผ่านเทคนิคแอนิเมชันหลากหลายรูปแบบ พร้อมสำรวจกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่ทำให้เรื่องเล่าเหล่านั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการบอกเล่าชีวิต ผู้คน และสังคม ผ่านการผนวกองค์ความรู้ทางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้ามแขนง และท้ายที่สุด เพื่อค้นพบความหมายของการเล่าเรื่องในรูปแบบแอนิเมชันของคุณเอง

Part 1 - Nature of Animation (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

ความหมายตามรากศัพท์ภาษากรีก แอนิเมชัน (Animation) ประกอบขึ้นจากคำว่า Anima ที่หมายความว่า หายใจ หรือวิญญาณ และคำว่า Mation ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า การแสดงออก (Performing) คำว่า Animation จึงมีความหมายว่า ‘การให้ชีวิต (A bestowing of life)’

แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายของแอนิเมชันไม่เคยหยุดนิ่งอยู่เพียงหนึ่ง นิยามของแอนิเมชันต่างเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความคิดของมนุษย์

Puppet Theatre_Color etching by Giovanni Volpato (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

จาก ‘การให้ชีวิต’ สู่ ‘เครื่องมือสร้างภาพเคลื่อนไหว’

เมื่อมองย้อนกลับไปโดยใช้กรอบความคิดของโลกสมัยใหม่ แอนิเมชันอยู่เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์มาอย่างยาวนานตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการคิดอย่างมีเหตุผล 

มนุษย์รับรู้ภาพและการเคลื่อนไหวเพื่อแยกแยะและทำความเข้าใจสิ่งรอบตัว สิ่งใดเคลื่อนไหวได้ สิ่งใดที่หยุดนิ่ง ทักษะนี้ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของสัญชาตญาณมนุษย์

การรับรู้การเคลื่อนไหวประกอบกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ เครื่องมือ และนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงผ่านยุคสมัย จึงทำให้เกิดเรื่องเล่ามากมายไม่รู้จบ

Cave Painting Prehistory (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ การเล่าเรื่องด้วยภาพของมนุษย์ในยุคแรก ๆ จึงเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางธรรมชาติ จิตวิญญาณ หรือศาสนา ซึ่งปรากฏได้ในหลากหลายรูปแบบ 

บางครั้งภาพเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้นด้วยรูปแบบง่าย ๆ ผ่านแสงสะท้อนของแดด ลม ต้นไม้ ทะเล จากธรรมชาติ จากสายตา และจากจินตนาการของคนเรา ทั้งนี้เพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือแม้กระทั่งสื่อสารกับสิ่งที่ไม่สามารถหาคำตอบได้

Burn City's Wild Goat (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

ภาพแพะ 5 ภาพ ถูกวาดอย่างต่อเนื่องกันบนภาชนะโถที่มีอายุกว่า 5,000 ปี 
เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของแพะขณะกำลังกระโดดเพื่อกินใบไม้

เบื้องหลังการสร้างผลงานแอนิเมชันด้วยดินน้ำมันบนกระจก และบันทึกภาพด้วยกล้อง โดยศิลปินชาวอิหร่าน Bahar Kiamoghaddam (2022)
ดินน้ำมันถูกทำให้มีรูปร่างคล้ายลิง และปรับเปลี่ยนรูปร่างทีละเล็กทีละน้อย 
เพื่อสร้างให้เกิดภาพของลิงที่กำลังเคลื่อนไหว

Part 2 - The Power of Human Perception and the Illusion of Movement (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

ประสาทสัมผัส การรับรู้ และประสบการณ์ที่มนุษย์ได้สัมผัสกับภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพลวงตา ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของมนุษย์

การรับรู้เชิงภาพ (Visual Perception) ของมนุษย์มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคภาพเขียนสีในถ้ำ จนมาถึงการบันทึกภาพนิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำภาพมาร้อยเรียง จนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวที่รับรู้ได้ด้วยการฉายในความเร็วที่เหมาะสม

Part 2 - View from the Window at Le Gras (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

View from the Window at Le Gras

ภาพถ่ายแรกที่เกิดขึ้นบนโลก ถ่ายโดย Joseph Nicéphore Niépce ในปี 1826

เมื่อการเก็บภาพที่ตาเห็นได้เป็นวัตถุเกิดขึ้น การรับรู้ จดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงวิธีการจัดการกับอดีตของมนุษย์ก็เปลี่ยนแปลงไป จากการมองอดีตแบบนามธรรมมาสู่การมองเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายโดยเรดาร์ ได้เปลี่ยนแปลงการรับรู้และตีความความจริงบนโลกไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อมนุษย์สามารถเห็นสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวในระยะที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้เป็นครั้งแรก ผ่านการตีความภาพสัญลักษณ์

Part 2 - Boston From A Hot Air Ballon (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

God Point of View

ปี 1860 James Wallace ได้ถ่ายภาพมุมสูงจากบอลลูนภาพแรกของโลกที่สหรัฐอเมริกา ภาพนี้ได้สร้างมุมมองของพระเจ้า (God Point of View) ซึ่งเป็นมิติการมองเห็นที่มนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อนจากบนพื้นดิน และได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อขนานใหญ่ของมนุษย์

Part 2 -Sequential Art and In-Between (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

ศิลปะของความต่อเนื่อง และภาวะระหว่าง
Sequential Art and In-Between


หนึ่งในพื้นฐานและถือเป็นหัวใจสำคัญของแอนิเมชัน คือ ‘ความต่อเนื่อง’ ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องของการรับรู้ ความต่อเนื่องของความรู้สึก ความต่อเนื่องของความหมาย ความต่อเนื่องของภาพ 

ในภาพยนตร์ การเปลี่ยนแปลงของภาพอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในความเร็ว 24 ภาพต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่นักทำภาพยนตร์เชื่อว่าเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการสร้าง 'ภาพติดตา' บนจอภาพยนตร์ โดยมี 'ภาวะระหว่าง’ ร่วมสอดแทรกอยู่ และเป็นส่วนหนึ่งของภาพติดตา จนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวแก่ผู้ชม 


แต่ในชีวิตประจำวัน เกือบจะตลอดเวลา มนุษย์มองเห็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความเร็วเกินกว่าจะรับรู้หรือสังเกตได้ ว่าภาพเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากความต่อเนื่องกันของภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพ

นอกจากภาวะระหว่างในแอนิเมชัน จะเป็นความเข้าใจพื้นฐานที่ใช้เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวแล้ว ยังถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเฝ้ามองและสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกด้วย

Part 2 - Life Drawing_3 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

Life Drawing (2013) โดย พีรพัฒน์ กิตติสุวัฒน์ บอกเล่าการเคลื่อนไหวของชีวิตผ่านภาพวาดลายเส้นต่อเนื่องบนกำแพง 

ปกติภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame Animation จะนำเสนอเพียงทีละภาพต่อเฟรม โดยการเคลื่อนไหวจะแบ่งออกเป็นการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ ส่วนมากมักระบุจุดเริ่มต้นและจุดจบของการเคลื่อนไหวหลัก (keyframe) ก่อนจะเชื่อมช่องว่างด้วยการเคลื่อนไหวตรงกลางระหว่างสองการเคลื่อนไหวหลักนั้น (in-between)

Part 2 - Life Drawing_1 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

ผลงานชิ้นนี้ ศิลปินเลือกจะนำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อที่อยู่ตรงกลางระหว่างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยนำภาพการเคลื่อนไหวทั้งหมดมากางออก จัดวางจนไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่ชัด รวมทั้งออกแบบการจัดวางภาพให้เป็นอนันต์ คือสามารถดำเนินต่อไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด

Part 2 - Life Drawing_2 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

การมองเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงต่อกันช่วยขับเน้นให้ผู้ชมสังเกตถึงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของชีวิต การเปลี่ยนแปลงของเวลา ร่างกาย และสิ่งรอบตัว

ผู้ชมที่ยืนดูผลงานบนกำแพงนี้สามารถควบคุมกรอบการมองและเวลาที่จดจ้องแต่ละภาพ สายตาที่เลื่อนผ่านภาพแต่ละภาพไม่ต่างจากการทำงานของภาพยนตร์ หากแต่ผู้ชมมีอำนาจในการกำหนด 'พื้นที่' และ 'เวลา' ในจังหวะของตัวเอง

Part 2 - Capturing Movement_1 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

Capturing Movement (2011) โดย เกวลี วรุตม์โกเมน


Part 2 - Capturing Movement_2 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

ผลงานชิ้นนี้ถึงแม้จะคล้ายคลึงกับ Life Drawing (2013) ในแง่ที่การเคลื่อนไหวถูกบันทึกไว้บนพื้นที่กระดาษเดียวกัน โดยมีการเคลื่อนไหวหลัก 2 จุด และมีสภาวะตรงกลาง (in-between) ระหว่างการเคลื่อนไหวนั้น แต่จะเห็นได้ว่ามุมมองที่ศิลปินเลือกใช้ในผลงานชิ้นนี้แตกต่างโดยสิ้นเชิง 

งานชิ้นนี้เป็นความพยายามในการบันทึกการเคลื่อนไหวของนักเต้นที่เดินไป-กลับในความเร็วที่ต่างกัน แบบฝึกหัดนี้นำโดยอาจารย์ Mike Croft ที่ชวนมาตั้งคำถามและท้าทายการรับรู้ภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame Animation ที่คุ้นชินในวงการด้วย

ผลลัพธ์ของผลงานจึงเป็นการสำรวจและบันทึกการเคลื่อนไหวที่ถูกรับรู้ ณ ขณะนั้น ๆ โดยไม่อิงกับภาพโครงสร้างโดยรวมทั้งหมดนั่นเอง

เบื้องหลังผลงานแอนิเมชันจากดินน้ำมัน
โดยศิลปินชาวอิหร่าน Bahar Kiamoghaddam (2022)

ด้วยความแข็งและความนุ่มที่สามารถเปลี่ยนแปลงแต่ก็คงรูปได้ ดินน้ำมันจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือทำงานแอนิเมชันที่มีจุดเด่นอย่างมากในการแปลงรูป (Metamorphosis) เพื่อสร้างการเคลื่อนไหว

Part 3 - Animation Aesthetics (2022-08-18) by TCDCThailand Creative & Design Center

เมื่อพูดถึงงานแอนิเมชัน แต่ละคนจะนึกถึงอะไรกันบ้าง?

การ์ตูน 2 มิติ 3 มิติจากสตูดิโอยักษ์ใหญ่ระดับโลก ภาพยนตร์ที่ผู้สร้างวาดภาพนับหมื่นรูปมาต่อกัน ภาพเคลื่อนไหวที่เล่นล้อไปกับเสียงเพลงในมิวสิกวิดีโอ หรือแอนิเมชันก็เป็นแค่การสร้างภาพลวงตาผ่านการทำงานระหว่างพื้นที่และเวลา

การรู้จักและเข้าใจธรรมชาติของพื้นที่ต่าง ๆ ในงานแอนิเมชัน และเปิดมุมมองให้เห็นเทคนิคการสร้างงานที่ไม่ได้มีขีดจำกัด จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานแอนิเมชันไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม

เรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านภาพเคลื่อนไหวจากศิลปินทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่มีวิธีคิด ความเชื่อ และมุมมองต่อแอนิเมชันที่หลากหลายต่อไปนี้ ถูกรวบรวมขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตั้งคำถามต่อการรับรู้การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และชีวิต ที่อาจทลายกรอบคิดเดิม ๆ ของงานแอนิเมชัน

Part 3 - Orbit by Tess Martin_4 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Phonotrope

Phonotrope เป็นอุปกรณ์สร้างภาพลวงตาด้วยการมองภาพนิ่งผ่านกล้องวิดีโอ เพื่อให้เกิดภาพเคลื่อนไหวติดตาตรงหน้า (live, present) โดยใช้ความเข้าใจเรื่องอัตราเฟรมและความเร็วของชัตเตอร์เข้ามาเป็นองค์ประกอบ

Part 3 - Orbit by Tess Martin_1 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Orbit (2019) ผลงานภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบนิทรรศการหมุนเวียนจัดแสดง ของศิลปิน Tess Martin ที่ประกอบด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันสั้น ศิลปะแบบจัดวางแบบมีส่วนร่วม (Interactive installation) และภาพจัดแสดง เพื่อบอกเล่าการไหลของพลังงานและวัฏจักรของโลก

Part 3 - Orbit by Tess Martin_3 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

ภาพวาดแต่ละภาพถูกพิมพ์และวางเรียงต่อกันเป็นวงกลม ภาพแรกและภาพสุดท้ายเชื่อมบรรจบกันบนแผ่นเสียง เมื่อเครื่องเล่นแผ่นเสียงทำงาน ภาพพระอาทิตย์ ก้อนเมฆ น้ำ ไฟ สัตว์ มนุษย์ และสิ่งของต่าง ๆ จะค่อย ๆ เคลื่อนไหวไหลต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ควบคู่กับเสียงที่ถูกบันทึก 

การเคลื่อนไหวของก้อนพลังงานถูกศิลปินถ่ายทอดลงบนกระดาษ และสร้างการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องผ่านการใช้คอมพิวเตอร์

วิดีโอเบื้องหลังการทำงานและการสร้างแอนิเมชัน
Orbit ศิลปินได้อธิบายขั้นตอนการสร้าง ตั้งแต่การร่างภาพลงบนกระดาษ การตัดแต่งด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคำนวณจำนวนเฟรมภาพต่อความเร็วในการเล่นแผ่นเสียงที่เป็นหัวใจของงานชิ้นนี้ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมของผู้ชมกับตัวงาน

Part 3 - Hide and Seek _1 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Zoetrope

Zoetrope เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวลวงตา เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการคิดค้นกล้องภาพยนตร์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีแกนหมุนตรงจุดศูนย์กลาง โดยรอบนอกจะมีภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อยเรียงกันตามลำดับ ระยะห่างระหว่างแต่ละภาพจะมีร่องยาวตัด

เมื่อทำการหมุน Zoetrope และมองผ่านร่องยาวตัดนั้น ภาพติดตาจะเกิดขึ้นจากความเร็วของการหมุนแกนทรงกระบอก ผู้ชมจะมองเห็นภาพเหล่านั้นเคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน

Hide and Seek (2021) โดย ภัทร นิมมล
เป็นผลงานแอนิเมชันภาพเคลื่อนไหวสองมิติสื่อผสมโดยใช้เทคนิค Zoetrope มาประยุกต์ใช้ 

ศิลปินได้พูดถึงการมีส่วนร่วมและส่วนทับซ้อนของพื้นที่ความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับชิ้นงานและพื้นที่นั้น ๆ โดยการเข้าไปควบคุมความเร็วช้าของภาพเคลื่อนไหวด้วยมือของตัวเอง

Part 3 - Early Morning Life (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Cutout Animation

เทคนิคการทำแอนิเมชันโดยใช้วัสดุหรือวัตถุใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ผ้า หรือสิ่งของต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ 

โดยพื้นฐานการทำงานจะเป็นการขยับชิ้นส่วนสิ่งของเหล่านั้นและถ่ายรูปทีละภาพ (Frame by Frame) เพื่อสร้างให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยอาจใช้วิธีการตั้งกล้องแบบแนวระนาบหรือแนวตั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและคุณสมบัติของวัตถุที่นำมาใช้งาน

Early Morning Life (2011) โดย ศรัณย์ เย็นปัญญา 
บอกเล่าเรื่องราวความรู้สึกเกี่ยวกับสถานะทางสังคมของตนเอง และพูดถึงความจนและความรวยผ่านการใช้วัสดุในการทำแอนิเมชันที่มาจากข้าวของทั่วไป 

Part 3 - Sweat Sweet - June Kim_3 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Oil Pastel on Paper Animation

Sweat Sweet (2018) ผลงานแอนิเมชันสีเทียนบนกระดาษของศิลปิน June Kim (Jung Hyun Kim) ที่บอกเล่าความรู้สึกและการจดจำวัยเด็กของตนเองที่มีต่อความสัมพันธ์ของแรงปรารถนาทางเพศระหว่างพ่อกับแม่

Part 3 - Sweat Sweet - June Kim_2 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

ด้วยคุณสมบัติของสีเทียนที่ง่ายต่อการขีดเขียน เหมาะสำหรับทุกคนแม้แต่กับผู้ที่เพิ่งหัดวาดภาพระบายสี และมักถูกใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็ก บ่อยครั้งงานสีเทียนจึงสร้างให้เกิดความรู้สึกและการรับรู้ที่ข้องเกี่ยวกับเด็กหรือช่วงปฐมวัย

Part 3 - Making of Sweat Sweet (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

เทคนิคการสร้างแอนิเมชันด้วยสีเทียนนั้นไม่ได้ต่างจากการใช้ดินสอวาดบนแผ่นกระดาษหรือการใช้สีวาดบนแผ่นใสทีละแผ่น ๆ (Frame by Frame Animation) ก่อนจะนำภาพมาเรียงต่อกันและบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปหรือเครื่่องสแกน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมแอนิเมชันทั่วโลก

แต่สุนทรียะทางความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างรับชมผลงาน ย่อมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทักษะของผู้สร้าง และวัสดุในการสร้างชิ้นงานเช่นกัน

Chinese Ink on Japanese Paper Animation

Deforming after Transforming (2021) เป็นผลงานของศิลปินชาวญี่ปุ่น Fukumi Nakazawa ที่เปรียบเปรยมุมมองของมนุษย์ต่อการปรับตัวในการใช้ชีวิต การเปลี่ยนร่างกายของตนเพื่อเป็นแรงงาน การเปลี่ยนร่างกายของตนเองไปสู่สิ่งอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความสุขทางใจ

Part 3 - Deforming after Transforming (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

ความเข้มของหมึกจีน เมื่อสัมผัสกับความบางของกระดาษญี่ปุ่น น้ำหมึกจะทะลุผิวกระดาษลงไป ภาพที่ปรากฏขึ้นจึงไม่ได้อยู่เพียงบนระนาบผิวกระดาษอีกต่อไป เมื่อนำภาพหลาย ๆ ภาพมาวางทับซ้อนกัน การมองทะลุภาพที่เห็นตรงหน้าและภาพก่อนหน้า จะช่วยขับเน้นทำให้มองเห็น ‘การเปลี่ยนแปลง’ ของแต่ละภาพ

Part 3 - Direct Animation_2 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

Direct Animation

วิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยตรงโดยไม่ใช้วิธีถ่ายภาพทีละภาพ (Frame by Frame) โดยกล้องถ่ายภาพ แต่เป็นการสร้างภาพแต่ละภาพบนม้วนฟิล์มโดยตรง หรือบนกระดาษหรือวัสดุใด ๆ

ผลงานแอนิเมชัน Wartä - Einä Ninnts (2021) โดย Silvan Zweifel 
สร้างขึ้นจากเทคนิคการขีดสร้างร่องรอยบนกระดาษ

Part 3 - Making of Sand Animation_1 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Under-camera Techniques

การสร้างงานแอนิเมชันด้วยเทคนิคอุปกรณ์ วัตถุ หรือวัตถุดิบที่ต่างกัน ล้วนก่อให้เกิดสุนทรียะทางความรู้สึกทั้งต่อผู้สร้างและผู้รับชมที่ต่างกันไป

Part 3 - Making of Sand Animation_2 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Sand Animation

เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยการใช้ทรายบนแผ่นกระจก ด้วยคุณสมบัติของทรายที่มีขนาดเล็ก รวมถึงความเข้มอ่อนของภาพที่เกิดจากการกระทบกันของเม็ดทรายและแสงไฟ การสร้างและเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเคลื่อนไหวด้วยการขยับเม็ดทราย ถือเป็นลักษณะเด่นของเทคนิคนี้

ผลงานแอนิเมชัน The Birds Are In My Head (2020) โดยศิลปิน Milly Yencken จากออสเตรเลีย ถูกสร้างด้วยเทคนิคทรายบนกล่องไฟ (Light Box)

Part 3 - Sand Animation, Estonian Academy of Arts (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

“ฉันกระซิบคุยกับทราย หวังว่าทรายจะกระซิบตอบกลับ”  ไมลีย์ เยนเค็น

Part 3 - Behind the Scene of The Last Visit (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Charcoal Animation

การใช้ถ่านชาร์โคลสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยลักษณะของถ่านที่ทิ้งร่องรอยไว้บนกระดาษได้ง่าย เทคนิคนี้จึงมักถูกใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของภาพก่อนหน้าและภาพปัจจุบันในขณะเดียวกัน

ผลงานแอนิเมชัน Külluse Metsas (2021) โดยศิลปิน Milly Yencken 
ถูกสร้างด้วยเทคนิคถ่าน (Charcoal) บนกระดาษ

Paint on Glass Animation

การใช้สีน้ำมันหรือสีประเภทอื่น ๆ วาดบนกระจก ภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจะมีสีและลักษณะรอยฝีแปรงหรือนิ้วมือ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเทคนิคนี้

ผลงานแอนิเมชัน Diver in the Desert (2020) โดยศิลปิน Milly Yencken สร้างด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนกระจก

Part 3 - Orbit by Tess Martin_5 (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

จากเทคนิคสร้างสรรค์และเล่าเรื่องผ่านงานแอนิเมชันที่นำเสนอมาทั้งหมด น่าจะพอทำให้ทุกคนได้เห็นความเป็นไปได้และนิยามใหม่ ๆ ของคำว่า ‘แอนิเมชัน’ ที่เกิดการให้ความหมาย ตีความ และใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน

Part 3 - Direct Animation-1 (2022-08-22) by TCDCThailand Creative & Design Center

คำจำกัดความของคำว่าแอนิเมชันในกรอบความหมาย ‘การให้ชีวิต’ หรือในฐานะสื่อการ์ตูนสำหรับเด็ก  ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมแอนิเมชันในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปี 1930 นั้นจำกัดเกินไปแล้ว สำหรับการมีอยู่ของแอนิเมชันในทุกวันนี้ 

และยิ่งน่าสนใจว่าเครื่องมือและวิธีคิดในการทำงานกับแอนิเมชัน ยังรอให้ผู้สร้างและผู้ชมเข้าไปสำรวจและสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ อีกมากมายในอนาคต

Part 3 - Animation is A Medium, Not A Genre (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

“Animation is a medium, not a genre” เป็นวลีที่ถูกใช้และพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บนพื้นที่ต่าง ๆ ของคนทำงานแอนิเมชันทั่วโลก ด้วยวิธีคิดและวิธีการทำงานที่มองแอนิเมชันด้วยมุมมองใหม่ ว่าเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในหลายมิติ ไม่ได้มองเป็นเพียงประเภทหรือหมวดของการเล่าเรื่องบนจอภาพยนตร์หรือจอโทรทัศน์เท่านั้น

Part 4 - Making Moving Image Tells (2022-08-24) by TCDCThailand Creative & Design Center

Credits: Story

Graphy Animation และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA 

ขอขอบคุณศิลปินและองค์กรที่มีส่วนร่วมในนิทรรศการนี้

Credits: All media
The story featured may in some cases have been created by an independent third party and may not always represent the views of the institutions, listed below, who have supplied the content.

Interested in Visual arts?

Get updates with your personalized Culture Weekly

You are all set!

Your first Culture Weekly will arrive this week.

Home
Discover
Play
Nearby
Favorites