(กลางวัน) เซียงกงจุฬาฯ หรือ เซียงกงสวนหลวง ซึ่งเป็นแหล่งขายอะไหล่เก่าดั้งเดิมมีพื้นที่และร้านอะไหล่ที่หลากหลาย เกิดขึ้นมาเพราะเนื่องจากพื้นที่ในตลาดน้อยและสัมพันธวงศ์ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ จึงขยับขยายมาเช่าพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับปลูกสร้างตึกแถวสูง 3-4 ชั้น ซึ่งมีเจ้าของร้านขนาดเล็กใหญ่เข้ามาเปิดร้านจำหน่ายอะไหล่เก่า บางร้านเริ่มต้นจากคูหาเดียวแต่สามารถเติบโต และขยายกิจการใหญ่โต ปัจจุบันมีผู้ค้าอะไหล่เก่าอยู่ถึง 200 กว่าราย กระจัดกระจายเต็มพื้นที่บริเวณถนนบรรทัดทอง หลายๆ ร้านทำธุรกิจจำหน่ายอะไหล่เก่า สืบทอดติดต่อกันมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน จนทำให้เป็นที่รู้จักกันดีของลูกค้าทั้งกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด ร้านอะไหล่ต่างๆ แบ่งแยกตามประเภทอะไหล่ที่จำหน่าย แต่ละร้านก็มีความคุ้นเคย และความถนัดที่แตกต่าง บางร้านเน้นอะไหล่รถเก๋ง บางร้านเน้นรถกระบะ หรือเน้นอะไหล่ของชุดแต่งรถ ส่วนร้านใหญ่ๆ มักจะมีอะไหล่เก่าให้เลือกแบบครบวงจร ทั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถใหญ่ ทั้งรถตระกูลยุโรป ญี่ปุ่น หรือเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล
จากข้อมูลข้างต้น ศิลปินเจ้าของผลงานจึงสนใจหยิบใช้อะไหล่รถยนต์มือสองหรือการรีไซเคิลของใช้แล้วที่มีนัยหมายถึงแหล่งเชียงกงสวนหลวง-ปทุมวันมาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม โดยเลือกใช้ไฟท้ายรถยนต์มือสองมาสร้างเป็นผลงานรูปดอกไม้ที่มีกลีบเป็นรูปหัวใจ 3 กลีบแทนพื้นที่สามย่าน ดอกไม้จะเบ่งบานในกลางใจเมือง เหมือนผู้คนย่านการค้าเก่าแก่บริเวณนี้ที่ต้องปรับตัวไปตามความเจริญขึ้นในปัจจุบันบริเวณสามย่าน-สวนหลวง ประติมากรรมดอกไม้จะเปล่งแสงสีแดงยามค่ำคืนจากไฟท้ายรถยนต์ สะท้อนเรื่องเมืองพลังงานสิ้นเปลืองบนท้องถนนและการใช้พลังงานทดแทน
สนใจเรื่อง Visual arts ใช่ไหม
รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ
เรียบร้อยแล้ว
Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้