ผัสสะแห่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้ของ "อินซิทู"

เรียนรู้อดีตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านความคิดและโสตทัศน์ของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา

The Ghost of Wang Na : การอ่านบทเพลงยาว พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบเพลงอิเล็กทรอนิก (2019-03-03/2019-03-03) โดย ตุล ไวฑูรเกียรติ ศิลปินวงอพาร์ตเมนต์คุณป้า และ Marmosetsพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

พลังแห่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้

มรดกทางวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น ดนตรี ภาษา และรสชาติ เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ชัดเจน แต่จับต้องไม่ได้ เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มรดกเหล่านั้นทรงพลัง แต่ส่งต่อให้ชนรุ่นหลังได้ยาก เราพยายามหาวิธีจัดแสดงสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ที่ดีที่สุด และเอื้อให้ผู้ชมเกิดการเชื่อมต่อกับอดีต

การอ่านบทเพลงยาว พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบเพลงอิเล็กทรอนิก (2019-03-03/2019-03-03) โดย ภากร มุสิกบุญเลิศพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ตุล ไวฑูรเกียรติ นักร้องนำวงร็อก อพาร์ตเมนต์คุณป้า ร่วมงานกับนักประพันธ์เพลงอิเล็กทรอนิกส์ Marmosets
ตุล ไวฑูรเกียรติ และ Marmosets ร่วมกันดัดแปลงเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สอดร้อยเครื่องดนตรีไทยกับสำเนียงอิเล็กทรอนิกส์ร่วมสมัย ได้เป็นผลงานชื่อว่า The Ghost of Wang Na : การอ่านบทเพลงยาว พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบเพลงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลงานที่เชื่อมอดีตเข้ากับปัจจุบัน

ตุลชอบสังเกตวิถีชีวิตและพฤติกรรมมนุษย์ เขาตั้งคำถามว่า อดีตของเราเป็นสิ่งจริง หรือเป็นเพียงมายา อดีตนั้นผ่านพ้นไปแล้ว แต่เรายังเห็นร่องรอยจากอดีตอยู่ในสถาปัตยกรรม เรื่องเล่าและตำนาน วรรณกรรม บทเพลง หรือแม้แต่ข้อความในแบบเรียน ประวัติศาสตร์อาจถูกแต่ละบุคคลบิดเบือนหรือตีความต่างๆ กันไป

ในนิทรรศการ มีหูฟังให้ใช้เพื่อลองฟังเสียงเพลง หรือจะสแกน QR Code บนใบปลิวที่แจกเพื่อฟังจากโทรศัพท์มือถือก็ได้

เครื่องดนตรี ระนาด (2019-03-03/2019-03-03) โดย ภากร มุสิกบุญเลิศพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

“เราขอยืมระนาด ที่จัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อสร้างเสียงดนตรี แล้วปรับแต่งด้วยสำเนียงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบิดรูปร่างดนตรีต้นฉบับ” ตุลกล่าว

หูฟังเพลง และไปรณียบัตรสำหรับแจก (2019-03-03/2019-03-03) โดย ภากร มุสิกบุญเลิศพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ผลงานชิ้นนี้โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ตุลและ Marmosets สนใจร่วมกัน คือเพลงและดนตรี ดนตรีเป็นภาษาสากลและมีความเป็นอกาลิโก คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ความงามของสรรพเสียงที่ประพันธ์ในอดีตนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และในที่สุดก็ดับไป ตุลและ Marmosets ศึกษาว่าดนตรีส่งผลกระทบอย่างไรต่ออารมณ์มนุษย์ และแต่ละบุคคลจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับอดีตของแต่ละคน รสนิยม และรูปแบบการใช้ชีวิต

แผ่นทองคำเปลวบนงานติดตั้ง (2019-03-03/2019-03-03) โดย ภากร มุสิกบุญเลิศพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

เสียงที่ถูกสร้างในอดีตอาจถูกนํามาใช้ใหม่ โดยดัดแปลงผ่านซินธิไซเซอร์ทําซ้ํา ในท่วงเสียงที่ถูกสร้างในอดีตอาจถูกนํามารีไซเคิล ดัดแปลงผ่านซินธิไซเซอร์ ทําซ้ำ ในท่วงทํานองของเมืองกรุงที่อาจจะยุ่งเหยิงเร่งเร้ากว่าในอดีต ผีและวิญญาณอาจเป็นเพียงประจุไฟฟ้าที่วิ่งผ่านสมองของเราไปยังไมโครโฟน ดรัมแมชชีน แซมเปลอร์ และ แสดงตัวออกมาทางลําโพง ซึ่งแน่นอน พลังงานเช่นนี้ ไม่มี ใครเห็น และการได้ยินก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งเดียวกับการได้ฟัง

- ตุล ไวฑูรเกียรติ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2019-03-03/2019-03-03) โดย The Cloudพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และความทรงจำที่ยังคงอยู่ในจิตรกรรมฝาผนัง

พระที่นั่งองค์นี้เป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างแรกๆ ของพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งจึงมีอายุย้อนไปได้ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ศิลปินบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติที่สอดแทรกอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังพร้อมรายละเอียดต่างๆ ที่แฝงความเป็นปัจเจกของศิลปินท่านนั้นๆ ในจิตรกรรมเราจึงไม่เพียงได้เรียนรู้พุทธประวัติ แต่ยังเห็นความทรงจำที่ศิลปินฝากไว้ในชิ้นงาน

ไปรณียบัตรสำหรับแจก ของ อาจารย์ กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ (2019-07-22/2019-07-22) โดย กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ นักพฤกษศาสตร์และอาจารย์มหาวิทยาลัย
อาจารย์กิติเชษฐ์เติบโตในย่านบางกอกน้อยรอบอาณาเขตที่เคยเป็นวังหน้า อาจารย์เดินสำรวจภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์และวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) อยู่หลายวัน เพื่อรำลึกความทรงจำส่วนตัวในวัยเด็ก ว่ายังมีสิ่งใดหลงเหลือจากครั้งอดีตบ้าง

ภาพในไปรษณียบัตร สำหรับแจกแก่ผู้เข้าชม แสดงพรรณไม้ต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเรื่องราวของต้นไม้และดอกไม้แต่ละชนิด

ดอกโบตั๋น ในภาพจิตรกรรมฝาฝนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิษณุ ชุณหจินดาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

จากการทำงานกับต้นไม้ดอกไม้นานาพันธุ์ ผมเชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ไม่เพียงเป็นบันทึกว่าในอดีตเคยมีพรรณไม้อะไรบ้าง บางชนิดหายไปจากพื้นที่แล้วในปัจจุบัน แต่ยังเป็นประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลของศิลปินผู้วาด ที่สะท้อนให้เห็นโลกรอบตัวของเขาด้วย

- กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ

ดอกพลัมในภาพจิตรกรรมฝาฝนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิษณุ ชุณหจินดาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

พืชพรรณจากอดีต: ดอกบ๊วย และดอกโบตั๋น

ดอกบ๊วยมีกลีบดอกมนเป็นเอกลักษณ์ ต้นบ๊วยจะเติบโตเฉพาะในพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็นสบาย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าไม่น่าจะมีต้นบ๊วยปรากฏอยู่จริงในพื้นที่วังหน้าเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่เขตร้อน แต่กลับมีปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง

การที่มีภาพต้นบ๊วยปรากฏเฉพาะบางภาพ เป็นเพราะต้นไม้ชนิดนี้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับโชคลาภและฐานันดรศักดิ์ เชื่อว่าศิลปินที่วาดภาพอาจเคยเห็นต้นบ๊วยในภาพวาดแบบจีนและญี่ปุ่น หรือในเอกสารทางศาสนาในสมัยนั้น

การมีภาพดอกบ๊วยอยู่ท่ามกลางพรรณไม้เขตร้อน นับเป็นเรื่องพิเศษและเกือบเรียกได้ว่ายังหาคำอธิบายชัดเจนไม่ได้ แต่อาจมองในเชิงเปรียบเทียบได้ว่าดอกบ๊วยเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งพิเศษ เช่น ความเป็นราชนิกูล ที่อยู่ท่ามกลางพรรณไม้สามัญอื่นๆ

ดอกโบตั๋น ในภาพจิตรกรรมฝาฝนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิษณุ ชุณหจินดาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

เมื่อมองถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยนั้น ที่การเอ่ยพระนามบุคคลชั้นสูงโดยตรง อาจเป็นการมิบังควรและเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ช่างเขียนรูปที่รอบรู้เรื่องพรรณไม้จึงเลือกแสดงความจงรักภักดีโดยวิธีวาดต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง แทนการวาดหรือเอ่ยพระนามโดยตรง

ดอกโบตั๋น (คนไทยเรียกดอกพุดตาน) แย้มกลีบที่พระบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทุเรียน มะพร้าว และต้นยางนา ในภาพจิตรกรรมฝาฝนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิษณุ ชุณหจินดาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ทุเรียน ยางนา และมะพร้าว

พรรณไม้สามชนิดที่เห็นในภาพจิตรกรรม ได้แก่ มะพร้าว (Cocos nucifera L.) ทุเรียน (Durio zibethinus L.) ที่กำลังติดผล และต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don). ที่มีลำต้นสีขาว และมีโพรงดำๆ เพราะคนเอาไฟไปลนลำต้นเพื่อให้ได้ชันมาใช้ เพราะในสมัยนั้นคนที่อยู่ริมน้ำจะต้องปรับปรุงเรือนทุกปีด้วยการยาชัน ซึ่งได้มาจากยาง

มะพร้าวและทุเรียนเป็นพรรณไม้ยอดนิยมที่ปลูกกันทั่วไปในย่านบางกอกน้อย

ตำบลที่อยู่อีกฟากของแม่น้ำ ตรงข้ามวังหน้า เคยเป็นศูนย์กลางการปลูกผลไม้เลี้ยงอาณาจักรสยาม ผลไม้ เช่น ทุเรียน นั้นมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่นี้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และยังมีอยู่อย่างน้อยเมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่านมา

ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเครื่องมือที่บันทึกประวัติศาสตร์ ทำให้ชาวกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเห็นหลักฐานว่าเคยมีพรรณไม้บางชนิด (ที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ผ่านทางภาพจิตรกรรม

แตะเพื่อสำรวจ

เชิญชมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

Experience the Intangible "In Situ" Part 0 (2019-04-22) โดย Sirikitiya Jensenพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

Experience the Intangible "In Situ" Part 1 (2019-04-22) โดย Sirikitiya Jensenพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ถอดรหัสนัยแห่งชื่อ

ในประเพณีไทยดั้งเดิม ชื่อบุคคลมิใช่เพียงเป็นคำเรียก แต่ยังเป็นสิ่งบอกบริบททางสังคมและศาสนา รวมทั้งความมุ่งมาดปรารถนาของบุคคลผู้นั้น นามแห่งกษัตริย์สะท้อนให้เห็นพระราชอำนาจในฐานะประมุขของชาติ และยังประกอบด้วยพรอันประเสริฐ รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชสกุล และพระคุณสมบัติในการปกครองประเทศอีกด้วย

ตำราพิชัยสงคราม ฉบับคัดลอกใหม่ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิริยะ ชอบกตัญญูพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

แผนภาพที่ปรากฏใน ตำราพิชัยสงคราม นี้ ระบุปัจจัยที่พิจารณาเมื่อจะตั้งชื่อที่มีความหมายเป็นมงคลและนำชัยชนะมาสู่เจ้าของชื่อ

หลักการนี้อธิบายให้เห็นถึงการแยกประเภทสมรภูมิรบตามลักษณะของสัตว์ 8 ชนิด (เช่น หนู เสือ ครุฑ ช้าง ฯลฯ) ชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์และบ่งบอกถึงชัยชนะจะมีคุณลักษณ์ต่างกันไปตามวันเกิด และสัตว์ประจำตัวที่ปรากฏบนแผนภาพ และตัวอักษรที่เป็นมงคลต่อเจ้าของชื่อ

ตำราพิชัยสงคราม (สำเนาภาพ) ภาพต้นฉบับอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

แผนภูมิภาพใน ตำราทักษา ใช้ประกอบการตั้งชื่อ (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำราทักษา เป็นตำราเล่มสำคัญที่บอกหลักการและประเพณีการตั้งชื่อ รวมทั้งใช้ในการพระราชทานพระนามแก่พระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

เมื่อเด็กถือกำเนิด จะถูกจัดให้อยู่ตามปีนักษัตรทั้งแปด คือมีสัตว์ประจำตัวตามวันเกิด มีคุณลักษณ์อีกแปดประการต่างๆ กันไป (เช่น ความจงรักภักดี สุขภาพดี ทรัพย์สินเงินทอง ฯลฯ) ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับวันเวลาที่เด็กเกิด

ดังนั้น จากแผนภาพเบื้องต้นนี้ จะเห็นได้ว่า วันเกิดแต่ละวัน มีตัวอักษรที่เป็นมงคลและควรใช้ตั้งชื่อแตกต่างกันไป เพื่อให้เป็นการประสิทธิ์ประสาทคุณสมบัติดีงามในตัวเด็ก และถูกต้องตามนักษัตรที่เกิดมา

ตำราพิชัยสงคราม ฉบับคัดลอกใหม่ (2019-03-03/2019-03-03) โดย วิริยะ ชอบกตัญญูพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ยกตัวอย่าง พระนามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพวันอังคาร สัตว์ประจำพระองค์จึงคือราชสีห์ และเพื่อเป็นการเสริมพระนามให้มีคุณสมบัติความเข้มแข็งห้าวหาญ จึงมีการกำหนดตัวอักษรที่เป็นมงคลสำหรับใช้ในพระนาม

ใต้แผนภาพ คือพระนามเมื่อทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่ามีอักษรมงคลและลักษณะของราชสีห์ ผนวกรวมไปในพระนามด้วย

ทางทิศ อาคเน หรือ ตะวันออกเฉียงใต้ ของแผนภาพ จาก ตำราพิชัยสงคราม จะเห็น ราชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ประจำพระองค์ ตามตำรา

แบบร่างพระสุพรรณบัตรของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ภาพพระปรมาภิไธยฉบับร่างบนใบลาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ร่างพระนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จารบนใบลาน ตามโบราณราชประเพณี พระปรมาภิไธยจะถูกจารึกบนแผ่นทองคำ ที่เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ และทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หอสมุดแห่งชาติ

แบบร่างพระสุพรรณบัตรของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

แผ่นทองคำนี้ยังใช้สำหรับการจารึกนามเมื่อพระราชทานตำแหน่งใหม่แก่ข้าราชการชั้นสูง แต่แผ่นทองคำบริสุทธิ์จะใช้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

Palm Leaf Manuscript of Second King Pinklao's Name (2019-03-03/2019-03-03) โดย National Library of Thailandพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ภาพพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับร่างบนใบลาน

ก่อนเสด็จเสวยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลา 27 พรรษาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ทรงใช้ชีวิตใกล้ชิดฟ้าประชาชน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพ.ศ.2394 ทรงเลือกพระปรมาภิไธยที่สะท้อนให้เห็นบุคลิกส่วนพระองค์ พระคุณวุฒิ และพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกเองว่ามีพระราชประสงค์ให้ ‘ภาพจำ’ ของพระองค์เป็นเช่นไร

หอสมุดแห่งชาติ

แบบร่างพระสุพรรณบัตรของพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์สองพระองค์ปกครองประเทศพร้อมกัน ในที่นี้ เราจึงขอนำเสนอแนวคิดที่พยายามวิเคราะห์พระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถอดความหมายที่แฝงอยู่ในภาษาและได้เห็นว่า พระปรมาภิไธยทั้งสองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์แฝงความหมายหลายหลาก อันสะท้อนให้เห็นความผันแปรของสถานะแห่งกษัตริย์ ที่เกิดขึ้นในสยาม ณ พระราชวังบวรสถานมงคลแห่งนี้

Experience the Intangible "In Situ" Part 2 (2019-04-22) โดย Sirikitiya Jensenพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ถอดรหัสความหมายพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ถอดรหัสพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑. ความเป็นปัจเจกชนในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกคงความเป็น “เทวราชา” ที่แฝงในพระนามตามแบบอย่างบูรพกษัตริย์ แต่ทรงทำสิ่งใหม่คือ ผนวกพระบรมนามาภิไธย "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ที่ทรงใช้ก่อนขึ้นครองราชสมบัติไว้ในพระปรมาภิไธยด้วย (ในวรรคที่ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ) แสดงให้เห็นว่าแม้ทรงเป็นกษัตริย์ แต่ก็ทรงเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับไพร่ฟ้าประชาชน ไม่ได้แสดงความเป็นเทวราชาเพียงอย่างเดียว

ในพระนามยังมีส่วนบ่งบอกขัตติยราชสกุล ว่าทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือวรรคที่ว่า อิศรราชรามวรังกูร สืบเชื้อสายมาจาก "พระเจ้ามหาสมมติราช" พระราชาองค์แรกตามคัมภีร์พุทธศาสนา ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปรียบเสมือนพระสมมติเทพ และทรงเป็นกษัตริย์ในดินแดนมนุษย์โลก

พระปรมาภิไธยยังมีส่วนที่หมายความว่า “เหล่ามหาชนร่วมประชุมเห็นพร้อมกันถวายสิริราชสมบัติ” เป็นการเน้นให้เห็นพระราชประสงค์ที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เพื่อพระองค์จะได้ปกป้องช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์ แนวคิดที่ว่าทรงสืบราชสันตติวงศ์โดยได้รับความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ เชื่อมโยงกับพระชาติกำเนิด (ที่ทรงสืบเชื้อสายจากสมมติเทพ) ทำให้การขึ้นเสวยราชสมบัติของพระองค์นั้นได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ถอดรหัสพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.พระคุณวุฒิ บุคลิกส่วนพระองค์ และพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา
พระปรมาภิไธยวรรคที่ว่า พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ (ผู้ปกครองถึงซึ่งที่พึ่งคือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิ) ไม่เพียงสะท้อนเวลา ๒๗ ปีที่ทรงดำรงสมณเพศและปฏิบัติศาสนธรรมเพื่อปกป้องพระรัตนตรัย แต่ยังแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นกวีและนักปราชญ์ที่แตกฉานในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก และคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระปรมาภิไธยยังพรรณนาว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มีพระเมตตา พระกรุณา มีพระราชหฤทัยเยือกเย็น เห็นอกเห็นใจ ทรงมีสมาธิและความรู้ตัวทั่วพร้อม มีพระสติปัญญาเฉียบคม ซึ่งเป็นผลจากการเจริญสมาธิตามวิธีในพุทธศาสนา แสดงให้เห็นพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเชื่อว่าสิ่งนี้จำเป็นต่อการทรงงานในฐานะพระมหากษัตริย์ ทำให้เข้าใจไพร่ฟ้าประชาชนได้อย่างถ่องแท้ และเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก

ถอดรหัสพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามพระองค์ใหญ่
เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ให้ดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง โปรดให้ใช้คำว่า บวร ซึ่งแปลว่า “ประเสริฐ” และสำหรับพระองค์เองทรงใช้คำว่า บรม ซึ่งแปลว่า “ที่สุด” หรือ “อย่างยิ่ง” การใช้คำศัพท์ให้เห็นลำดับความต่างของพระราชอิสริยยศดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสมัยรัตนโกสินทร์ คือการสถาปนาพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง

การเริ่มใช้คำว่า "บรม" เท่ากับว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกฐานะทั้งของสมเด็จพระอนุชาธิราชและของพระองค์เอง

เป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้คำศัพท์ บรม หรือคำศัพท์อื่นที่มีความหมายว่าที่สุด หรือ อย่างยิ่ง มักอ้างอิงถึงความเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจปกครองสูงสุด สิ่งนี้เป็นหนึ่งในความแตกต่างระหว่างพระองค์กับพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง

ถอดรหัสความหมายพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (2019-03-03/2019-03-03) โดย หอสมุดแห่งชาติพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ถอดรหัสพระบวรนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑.พระภราดา: สมเด็จพระอนุชาธิราช:
พระบวรนามาภิไธยส่วนที่กล่าวว่า บรมมกุฏนเรนทรสูรย์โสทรานุชาธิบดินทร์ มีความหมายว่า ทรงเป็นพระอนุชาธิราชร่วมพระอุทรกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นขัตติยราชสกุล ที่ทรงเป็นหน่อเนื้อในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงเป็นพระอนุชาธิราชร่วมพระอุทรกับรัชกาลที่ ๔ จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์ให้พระปรมาภิไธยของพระองค์และสมเด็จพระอนุชา มีส่วนส่งเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน

ถอดรหัสพระบวรนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.ความเป็นปัจเจกชนในพระบวรนามาภิไธย:
มหิศเรศรังสรรค์ ที่ปรากฏในวรรคที่สองของพระบวรนามาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการแสดงลักษณะเฉพาะ ที่เล่นคำให้คล้องกับพระนามขณะทรงกรมคือ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และยังมีความหมายในภาษาสันสกฤตว่า “แต่งตั้งโดยพระราชาผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งอาจหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง

ความเป็นปัจเจกในพระบวรนามาภิไธย ยังสะท้อนผ่านการเลือกใช้คำศัพท์ ปิ่นเกล้า ในพระนามที่ผูกขึ้นสำหรับแต่ละรัชกาล (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เพราะมีความหมายตรงกับคำสันสกฤตว่า จุฑามณี หมายถึง ยอดอัญมณี อันเป็นพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าจุฑามณี ก่อนทรงกรมเป็น กรมขุนอิศเรศรังสรรค์

ถอดรหัสพระบวรนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.พระคุณวุฒิ บุคลิกส่วนพระองค์ และบทบาทผู้พิทักษ์:
พระบวรนามาภิไธยที่รัชกาลที่ ๔ พระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนถึงการยอมรับพระเกียรติคุณของสมเด็จพระอนุชาธิราชว่า ทรงพระปรีชาสามารถด้านการทหาร ทั้งจะเป็นผู้ปกป้องแผ่นดินที่ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ และแสดงให้เห็นว่าทรงคำนึงถึงหน้าที่ตามโบราณราชประเพณีของผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ที่จะต้องปกปักรักษาพระบรมมหาราชวัง

ดังนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “พระราชาผู้นำกองทัพ” และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจสูงสุด จึงเปรียบได้กับการดำรงบทบาทของผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สิ่งนี้แสดงให้เห็นในวรรคหนึ่งของพระบรมนามาภิไธยที่ว่า พลพยุหเนตรนเรศรมหิทธิวรนายก

ถอดรหัสพระบวรนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๔.สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามพระองค์ที่สอง:
แม้รัชกาลที่ ๔ จะทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชให้รับพระบวรราชโองการดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง แต่ยังทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า พระองค์ดำรงพระบรมราชอิสริยยศสูงสุด เห็นได้จากการเลือกใช้ใช้คำศัพท์ตลอดพระนามที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ใดคือ “สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามพระองค์ใหญ่” และ “สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามพระองค์ที่สอง”

ดังที่ระบุไปก่อนหน้านี้ว่า รัชกาลที่ ๔ ทรงเลือกใช้ศัพท์ บรม และ บวร เพื่อแสดงถึงพระบรมราชอิสริยยศที่แตกต่างของทั้งสองพระองค์ มีข้อสังเกตต่อไปว่า พระบวรนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีศัพท์ บวรจุลจักรพรรดิ มีความหมายว่า พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์น้อยผู้ประเสริฐ และทรงมี สัปตปดลเสวตรฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้นเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ แตกต่างกับรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ทรงมี นพปดลเสวตรฉัตราดิฉัตร ฉัตรขาว ๙ ชั้น และที่สำคัญคือ คำขึ้นต้นพระบวรนามาภิไธยไม่มีคำว่า พระบาท ดังที่ปรากฎในพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๔

เครดิต: เรื่องราว

ผู้อำนวยการโครงการ: สิริกิติยา เจนเซน

ทีมภัณฑารักษ์ "นัยระนาบนอก: อินซิทู": Nathalie Boutin, สิริกิติยา เจนเซน และ Mary Pansanga

ศิลปินร่วมสมัย: ธณัฐชัย บรรดาศักดิ์, ออน คาวารา, อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ, นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, ปรัชญา พิณทอง, ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช และ หยัง โว

ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ: จารุพัชร อาชวะสมิต, ประพจน์ อัศววิรุฬหการ, พงศ์ศิษฏ์ ปังศรีวังศ์, บุญเตือน ศรีวรพจน์ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ, คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู, สายัณห์ แดงกลม, ชุดารี เทพาคำ, สุวิชชา ดุษฎีวนิช, กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ, สุพิชชา โตวิวิชญ์, ชาตรี ประกิตนนทการ, ตุล ไวฑูรเกียรติ และ Marmosets

ทีมกราฟิกดีไซน์: Jaithip Jaidee และ Pam Virada

ผู้จัดงาน: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ผู้สนับสนุน: ไทยเบฟเวอเรจ และ ธนาคารกรุงเทพ

สื่อ: The Cloud

สนับสนุนโดย Air France และ Samsung

ทีมนิทรรศการดิจิทัล
ออกแบบ: ดร.วรพจน์ ส่งเจริญ
ช่างภาพ: วิษณุ ชุณหจินดา
วีดิทัศน์: เดชา ปาลมงคล
แปล: กรณิศ รัตนามหัทธนะ
พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล: ส่งเจริญมีเดียกรุ๊ป

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด