1968: ปีแห่งการปฏิวัติของนักศึกษา
ในช่วงทศวรรษ 1960 บรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมากต่างเดินทางมาถึงพร้อมกับวัฒนธรรมทางเชื้อชาติ ของเยาวชน สงครามเวียดนามเป็นแรงผลักดันให้เยาวชนทั่วโลกต่างออกมาทำกิจกรรมทางการเมือง การประท้วงขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปทำให้คนวัยหนุ่มสาวจำนวนหลายหมื่นคนออกมาเคลื่อนไหวตามท้องถนน มหาวิทยาลัยเองก็ถูกสิ่งนี้ท้าทายด้วยเช่นกัน ในเบิร์กลีย์ ปี 1964 นักศึกษาเรียกร้องสิทธิ์ในการต่อต้านสงครามและการเหยียดเชื้อชาติในวิทยาเขตต่างๆ ฝรั่งเศสอยู่ในความเงียบสงบมาโดยตลอด แต่ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1968 มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับปะทุขึ้นมาอย่างฉับพลัน การประท้วงขนาดเล็กที่อาคารหลักของมหาวิทยาลัย Sorbonne ถูกปราบปรามลงโดยตำรวจและมหาวิทยาลัยได้ปิดลง หลังจากนั้นก็เกิดการประท้วงที่บานปลายขึ้นเป็นเวลาหนึ่งเดือน ไม่นานหลังจากนั้น การเคลื่อนไหวของนักศึกษาฝ่ายซ้ายใหม่ (New Left) ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการประท้วงทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว มีผู้ใช้แรงงานเกือบสิบล้านคนเข้าร่วมการประท้วงทั่วทั้งประเทศ ระบบการปกครองถูกคุกคามด้วยการประท้วงที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปิดซอร์บอน
เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ายึดครองซอร์บอน นักศึกษาพากันต่อสู้เพื่อที่จะกลับเข้าชั้นเรียน แต่กลับตำรวจกลับใช้กระบองไล่ตีพวกเขาสั่งสอนบทเรียนเรื่องการก่อจลาจล แต่นักศึกษาก็ต่อต้านกลับด้วยการโยนก้อนกรวดเก่าๆ ที่ปกคลุมถนนในปารีส หลายคนได้รับบาดเจ็บ แต่ก็มีผู้เข้าร่วมการต่อสู้เป็นจำนวนมากขึ้นในแต่ละวัน
ซอร์บอน
คืนแห่งป้อมปราการ
ในคืนวันที่ 10 พฤษภาคม นักศึกษาพร้อมด้วยคนงานหนุ่มสาวจำนวนมากจากชานเมือง ได้สร้างป้อมปราการจากก้อนกรวดทั่วแหล่งชุมชนชาวลาติน การปราบปรามเป็นไปอย่างรุนแรงจนทำให้คนทั้งประเทศอกสั่นขวัญแขวน
กลับเข้ามาในซอร์บอน
รัฐบาลถอยกลับและซอร์บอนถูกเปิดอีกครั้ง นักศึกษากลับมาแต่ไม่ได้เข้าเรียน "สมัชชา" จัดประชุมอย่างต่อเนื่องในหอประชุมใหญ่ Daniel Cohn-Bendit ปฏิเสธที่จะรับบทบาทผู้นำ แต่ทุกคนก็รับฟังเขาเช่นเดิม
Cohn-Bendit กล่าวปราศรัยที่ซอร์บอน
คนหนุ่มสาวแสดงความคิดเห็นออกมา รอยขีดเขียนบนกำแพงปรากฏไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
จุดจบแห่งความเงียบ
สุนทรพจน์และงานเขียนที่ไหลหลั่งพรั่งพรูออกมาอย่างฉับพลันทำให้ทั่วทั้งปารีสถูกครอบคลุมไปด้วยข้อความปฏิวัติ ตามกำแพงเต็มไปด้วยรอยขีดเขียนและโปสเตอร์ ใบปลิวนับพันถูกแจกจ่ายตามท้องถนน หนังสือพิมพ์และนิตยสารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และที่สำคัญที่สุด ผู้คนหยุดแวะพูดคุยกันตามท้องถนน ซึ่งบัดนี้ไร้ซึ่งรถยนต์เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงขาดแคลน
งานรื่นเริงระหว่างการปฏิวัติ: เปียโนในลานซอร์บอน
การประท้วงทั่วไปเริ่มต้นขึ้น
นักศึกษาจัดการเดินประท้วงร่วมกับสหภาพและพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย วางกำหนดการไว้สำหรับวันที่ 13 พฤษภาคม การประท้วงทำให้ชาวปารีสหลายแสนคนออกมาแสดงความเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของนักศึกษาได้กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวของรัฐบาล ดังที่แสดงภาพให้เห็นบนหน้าปกของหนังสือพิมพ์นักศึกษาฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า "การดำเนินการ"
คนงานลุกฮือประท้วง
หลังจากการประท้วงในวันที่ 13 พฤษภาคม คนงานก็ปฏิเสธที่จะกลับไปทำงาน พวกเขายึดโรงงานหลายร้อยแห่ง ล็อคประตู และชูธงแดง ทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต ทั้งประเทศตกอยู่ในความวุ่นวาย
การจัดการตนเอง
การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างไม่เป็นเอกภาพและขาดกลุ่มผู้นำหรืออุดมการณ์ร่วมกัน คณะกรรมการดำเนินการมีการจัดตั้งขึ้นในหมู่เพื่อนบ้านและตามโรงงาน เป้าหมายระยะยาวของพวกเขายากที่จะระบุได้ แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องกันคือความรู้สึกไม่พอใจกับลำดับชั้นทางสังคมในการบริหารจัดการที่มีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก การจัดการตนเองแบบสังคมนิยมเป็นที่กล่าวถึงกันไปทั่วว่าเป็นทางเลือกใหม่ระหว่างระบบทุนนิยมและระบบคอมมิวนิสต์ของโซเวียต
คณะกรรมการดำเนินการ
สหภาพร่วมต่อสู้
โปสเตอร์สนับสนุนการประท้วงโดยนักเรียนของ Ecole des Beaux Arts
การประท้วงในวันที่ 24 พฤษภาคม
การประชุมที่ CHARLETY
หลังจากการประท้วงและจลาจลดำเนินผ่านไปหลายสัปดาห์ บรรดาพรรคฝ่ายค้าน สหภาพ และนักศึกษาต่างเรียกร้องการจัดการประชุมทางการเมืองครั้งใหญ่ขึ้นที่สนามกีฬา Charlety ในวันที่ 27 พฤษภาคม เครื่องมือของรัฐกำลังจะพังทลายลงเนื่องจากกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลได้เข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้ด้วย มีเฉพาะตำรวจและสถานีโทรทัศน์ที่รัฐเป็นผู้กำกับดูแลเท่านั้นที่ยังคงรับใช้รัฐบาล
พลังประชาชน พวกบรรดาลิ่วล้อทั้งหลายต่างทิ้ง de Gaulle
การประชุมที่ชาร์เลตี
การกลับมาของ De Gaulle
De Gaulle ต้องเผชิญกับทางเลือกว่าจะลาออกหรือการข่มขู่ของสงครามกลางเมือง หากเขายังคงอยู่ในอำนาจ ในวันที่ 29 พฤษภาคม เขาบินไปยังประเทศเยอรมนีเพื่อรวบรวมกำลังหนุนจากกองทัพมืออาชีพ ในวันที่ 30 พฤษภาคม เขาก็กลับมาและกล่าวสุนทรพจน์ โดยปฏิญาณว่าจะ "ปกป้องสาธารณรัฐ" จากศัตรู บรรดาผู้ที่สนับสนุนเขาต่างโห่ร้องยินดีในการต่อต้านการประท้วงครั้งใหญ่
ปฏิกิริยาตอบโต้
De Gaulle ขู่ว่าจะมีการปราบปราม ขณะเดียวกันก็สัญญาว่าจะมีการปฏิรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ขบวนการคนหนุ่มสาวพรรค Gaullist อ้างว่าจะดำเนินการปฏิวัติต่อไปหากเขายังคงดำรงตำแหน่ง ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์และสหภาพแรงงานหลัก CGT ได้พยายามดำเนินการเพื่อยุติการประท้วง
ใบปลิวเยาวชน Gaullist ขั้วพันธมิตรใหม่: สหภาพ + de Gaulle
การจู่โจมของตำรวจที่ Flins นักศึกษาหลบหนีเข้าไปในทุ่งกว้าง
การเสียชีวิตของขบวนการเคลื่อนไหว
แม้จะถูกกดดันทั้งจากรัฐบาลและสหภาพ แต่การประท้วงที่กล้าหาญที่สุดก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายน ในวันที่ 9 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าโจมตีผู้ยึดครองโรงงานขนาดยักษ์ของ Renault ที่ Flins ในพื้นที่ชนบทใกล้กรุงปารีส นักศึกษาเดินทางมาจากกรุงปารีสเพื่อปกป้องโรงงานแต่ก็เปล่าประโยชน์ มีนักเรียนระดับมัธยมคนหนึ่งเสียชีวิตในการตะลุมบอน ในไม่ช้าหลังการประท้วงครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลง รัฐบาลเตรียมการเลือกตั้งครั้งใหม่และได้รับชัยชนะอย่างง่ายดาย กลายเป็นจุดจบของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ปี 1968
ผลที่ตามมา
เหตุการณ์เดือนพฤษภาคมเป็นจุดเปลี่ยนอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ถึงแม้จะพ่ายแพ้ แต่ก็ได้จุดประกายการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่สร้างสังคมที่เปิดกว้างและก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าเดิม การเลือกตั้งนาย Francois Mitterand แห่งพรรคสังคมนิยมขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 1981 นับเป็นผลในระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
Francois Mitterand
Creator—Andrew Feenberg