ทางแยกของการสร้างสรรค์สู่วัสดุอื่นในผลงานศิลปะ

ทางแยกของการสร้างสรรค์สู่วัสดุอื่นในผลงานศิลปะ

Impression of the Environment No.3 (1989) โดย Somkiat CharoenviwatsakulArt Centre Silpakorn University

ในทศวรรษ 2520 เมื่อมองมาในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สื่อและวัสดุต่างๆได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสะท้อนความร่วมสมัยในผลงานศิลปะอย่างน่าสนใจ 

ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 27 พ.ศ. 2524  ได้มีการเพิ่มประเภทสื่อประสม ซึ่งจากเดิมมีเพียง จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ (ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติประเภทสื่อประสมได้ถูกยกเลิกในครั้งที่29 และกลับมาอีกครั้งที่37 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน)

Composition No.2 (1998) โดย Roong TrirapichitArt Centre Silpakorn University

ในช่วงแรก การปรากฏของสื่อและวัสดุในงานศิลปะนั้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม การดำรงชีวิตแปรเปลี่ยนไป 

วัสดุหรือพื้นผิวสัมผัสต่างๆแตกต่างไปจากเดิม วัสดุทันสมัยมันวาว หรือขยะจากอุตสาหกรรม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งเร้าให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์เหล่านั้นแปรค่ามาเป็นวัสดุในศิลปะ เช่นผลงานของ อาคม ด้วงชาวนา   รุ่ง ธีระพิจิตร  ชัยพร แซ่เล้า เป็นต้น

Form from Personal Feeling of Thai Architectural Motif 2/30 (1987) โดย Revadee ChaichumArt Centre Silpakorn University

หลังจากช่วงแรกของการนำวัสดุใหม่ๆเข้ามาสู่พื้นที่สร้างสรรค์ ศิลปินจำนวนหนึ่งก็เลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่มีราคาต่ำแต่สามารถตอบสนองความคิดในเรื่องราววิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่ายเช่นกัน

ในทศวรรษดังกล่าวนับได้ว่ามีความหลากหลายและเปิดกว้างในการสร้างสรรค์อย่างมาก ทั้งงาน2มิติและ3มิติต่างมีการใช้วัสดุอื่นๆมาแต่งเติมเสริมมิติของผลงานอย่างมาก

Festival (1988) โดย Prasong LuemuangArt Centre Silpakorn University

ในทศวรรษ 2530 สภาพเศรษฐกิจสังคมการเมืองดูเหมือนจะผลิบานไปในทิศทางที่ดีขึ้น  ขาติชาย ชุณหะวัณ ผู้นำประเทศในขณะนั้นได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากคำกล่าวที่ว่า “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” 

ซึ่งได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในประเทศไทย สภาพความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับศึกภายในที่ไม่เห็นด้วยในการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสังคมนิยม

Attachment 7/33 (1990) โดย Supot SinghasaiArt Centre Silpakorn University

ในพื้นที่ของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ช่วงเวลาดังกล่าวยังคงมีพัฒนาการเติบโตทางด้านสื่อและวัสดุอย่างต่อเนื่อง แม้เรื่องราวทางการเมืองภายนอกจะดุเดือด หากแต่ศิลปะที่สร้างสรรค์ในพื้นที่นี้มุ่งเน้นสุนทรียภาพในทิศทางศิลปะเพื่อศิลปะอย่างแข็งขัน ความเป็นไปทางการเมืองแทบไม่มีผลกระทบต่อศิลปะในอาณาบริเวณนี้ 

Life Style in Thai Country B3 (1993) โดย Tinnakorn KasornsuwanArt Centre Silpakorn University

อย่างไรก็ดีศิลปะย่อมสะท้อนความเป็นไปต่างๆทางสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ผลงานจำนวนมากที่สร้างสรรค์ในช่วงเวลาดังกล่าวเริ่มมีความหม่นหมอง สีสันได้ถูกกลืนหายไปกับบรรยากาศสังคมที่ปกคลุมไปด้วยวิกฤตทางการเมือง 

จากที่มุ่งเน้นการหาความเป็นไปได้ทางวัสดุใหม่ๆกลับย้อนมาชัดเจนในการใช้วัสดุพื้นถิ่น โหยหาอดีตที่เงียบสงบ มีการปฏิเสธหรือวิพากษ์ชีวิตเมืองหลวง และมุ่งหน้าแสดงออกถึงความรู้สึกส่วนตน

ในขณะนั้นสังคมศิลปะที่นอกเหนือจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมีการขยายตัวเป็นวงกว้าง ตลาดการสะสมผลงานมีความคึกคักอย่างน่าสนใจสอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งการกลับมาของศิลปินที่ได้ไปศึกษายังต่างประเทศที่ทำให้หน้าตาศิลปะของไทยแปรเปลี่ยนสู่ศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง นับเป็นช่วงเวลาของการกระโดดสูงของศิลปะสมัยใหม่สู่ศิลปะร่วมสมัยที่กำลังสอดรับกับกระแสโลก

Trance of Power, Chatchai Puipia, 1989, จากคอลเล็กชันของ: Art Centre Silpakorn University
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ในทศวรรษ 2540 ผลงานศิลปะที่อยู่ในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินั้นก็ยังคงมุ่งไปในทิศทางการค้นหาตัวตนหรือสัจจะความจริงของธรรมชาติ โดยมีวิธีคิดของ ความดี ความงามเป็นแกนกลาง และสร้างสรรค์ผลงานในแนวทางกึ่งนามธรรมไปสู่การจัดวางองค์ประกอบของทัศนธาตุพร้อมกับเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ในองค์ประกอบของภาพนั้นๆ 

Change (1997) โดย Pairoj WangbonArt Centre Silpakorn University

แต่เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าสีสันต่างๆในผลงานเริ่มลดน้อยถอยห่างไปจากผลงานอีกครั้ง ภาพผลงานเน้นไปในการให้ค่าน้ำหนักขาวดำ ส่วนมากเห็นได้จากผลงานประเภทภาพพิมพ์และต่อมาได้ขยายวงกว้างสู่ผลงานในประเภทอื่นๆ 

Snake (1997) โดย Somphong LeerasiriArt Centre Silpakorn University

อาจเป็นเพราะการถอยห่างจากเรื่องราวทางการเมืองจนส่งผลกระทบไปที่การแสดงออกทางศิลปะ ซึ่งศิลปกรรมแห่งชาติถูกทำให้อยู่คนละเส้นทางกับเหตุการณ์ต่างๆทางการเมือง 

Beside My Home No.9 (1994) โดย Surapong SomsookArt Centre Silpakorn University

น้ำหนักสีขาว เทา ดำต่างๆจึงเป็นเหมือนม่านหมอกที่เข้ามาปกคลุมเรื่องราวทางสังคมจนเบนทิศทางไปสู่ดินแดนของอัตวิสัยอย่างมหัศจรรย์



จากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยในปีพ.ศ. 2540 (ต้มยำกุ้ง) ทำให้สภาพการเงินประเทศที่เคยรุ่งเรืองในทศวรรษ 2530 ทรุดตัวลง บริษัท ห้างร้าน ธุรกิจอหังสาริมทรัพย์หยุดชะงัก ประเทศได้เข้าสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในระดับโลก สภาพบ้านเมืองเป็นดังภาพวาดที่ยังเขียนไม่เสร็จ ตึกใหญ่โตสูงเสียดฟ้าร้างขึ้นมาทันตา โครงการต่างๆที่บ่งบอกถึงความเจริญทางเศรษฐกิจได้กลายเป็นเศษซากที่พบเห็นได้ตามท้องถนน   

The Origin 8/1996 (1996) โดย Anupong KhachacheewaArt Centre Silpakorn University

จากสภาพบ้านเมืองที่ความเจริญได้หยุดชะงักจนกลายเป็นเศษซากของความศิวิไลซ์ ผลงานศิลปะในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีการหยิบยกสภาพบ้านเมืองที่แออัด ผู้คนมากมายในสังคมเมืองเบียดเสียด ภาพความยากจนตามเมืองหลวงและชนบท 

Tha Chang to Tha Phrachan (1998) โดย Piya PuangkhunthienArt Centre Silpakorn University

ซึ่งก็สะท้อนความเป็นไปบางอย่างทางสังคม หากแต่รูปแบบและเนื้อหาในการแสดงออกมิได้กล่าวในมิติสะท้อนสังคมแบบเฉพาะเจาะจงมากนัก แต่เรายังสามารถเห็นเค้าโครงต่างๆของปัญหาทางสังคมดังกล่าวออกมาผ่านศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าว

เครดิต: เรื่องราว

Artworks featured in this story are parts of Silpakorn Art Collections. They are award-winning works from the National Exhibition of Art and Exhibition of Contemporary Art by Young Artists, under the care and management of the Art Centre Silpakorn University. 

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
เรื่องราวจาก Art Centre Silpakorn University
สำรวจเพิ่มเติม
ธีมที่เกี่ยวข้อง
Thailand Art Up Close
Explore 70 years of Thailand art history
ดูธีม
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด