2021 เป็นปีวัวตามปีนักษัตรจีน วัวมีความสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์จีน โดยไม่ได้เป็นเพียงเครื่องเซ่นไหว้และอาหารหลัก แต่ยังเป็นสัตว์ที่ใช้บรรทุกสัมภาระ ลากเกวียน และไถนาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้กระดูกวัวในการทำนายโชคชะตาและทำกาว ส่วนหนังวัวและเขาวัวก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภาชนะต่างๆ ในขณะเดียวกัน อักษรจีนที่มีคำว่าวัวเป็นรากศัพท์ก็สามารถสื่อความหมายได้หลากหลายและเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาษาจีน ในทางวรรณคดีและงานศิลปะโบราณ เราก็มักจะเห็นการยกย่อง การเปรียบเทียบ และการแสดงสัญลักษณ์ของวัวในผลงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งระหว่างวัวกับมนุษย์
Reclining Ox (Qing dynasty (1644–1911)) โดย Ju Lian (1828–1904)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
วัวนอนหมอบ | จูเหลียน (1828–1904)
ภาพวาดชิ้นนี้ใช้ชุดสีที่สง่างามและมีการตัดขอบอย่างระมัดระวังด้วยลายเส้นที่โปร่งบางเบาสื่อถึงสมัยโบราณ ในขณะที่ยังชูความโดดเด่นของโครงร่างที่แข็งแรงและกำยำของวัวเอาไว้
สองพี่น้องจูเฉาและจูเหลียนเชี่ยวชาญด้านการถ่ายทอดความละเอียดอ่อนและจิตวิญญาณของสัตว์ลงบนภาพวาดของตน ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นอย่างสมบูรณ์แบบในผลงานตัวอย่างชิ้นนี้
Two Water Buffaloes (Undated) โดย Gao Qifeng (1889–1933)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
ควายสองตัว | เกาฉีเฟิง (1889–1933)
ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพวาดบนกระดาน 6 แผ่นที่มีชื่อว่า "เด็กเลี้ยงสัตว์ (Herdboy)" ของโฮโช ฮิคิดะ (1878–1934) ซึ่งได้รับรางวัล Third Prize ในงาน Third Art Exhibition ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นเมื่อปี 1909 และได้รับการตีพิมพ์ในแคตตาล็อกของนิทรรศการ
เกาฉีเฟิงวาดองค์ประกอบพื้นหลังเพิ่มเข้าไปข้างๆ ภาพควายที่กำลังนอนเอกเขนกในผลงานต้นฉบับ เช่น ต้นกกริมแม่น้ำ...
...และนกกระเต็นที่บินผ่านมา
องค์ประกอบที่เพิ่มเข้ามาทำให้เกิดเป็นเรื่องราวในผลงาน ภาพของควายตัวใหญ่ที่นอนสงบนิ่งตัดกับนกตัวน้อยที่กำลังโผบิน และสายตาของควายที่มองออกไปในทิศทางที่นกกระเต็นกำลังบินไปพอดิบพอดี
Dish with oxen design in underglaze blue and polychrome enamels (Late Ming dynasty)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
จานเคลือบแต่งลวดลายเล่าจื๊อขี่ควาย | ศตวรรษที่ 17
ผลงานชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยโรงเผาเครื่องเคลือบเอกชนที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้นในยุคปลายราชวงศ์หมิง โดยตั้งใจทำขึ้นเพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น จานใบนี้ตกแต่งด้วยลวดลายของวัว โขดหิน และต้นไม้ที่ลงสีน้ำเงินโคบอลต์ใต้เคลือบ และเสริมด้วยองค์ประกอบอย่างกระท่อม หญ้า และใบไม้ที่ลงสีบนเคลือบ แม้จะเป็นการวาด 2 ชั้นลงบนคนละพื้นผิว แต่ภาพที่ได้ออกมาก็ดูเป็นธรรมชาติอย่างมาก
ลายบนจานเป็นภาพวัว 2 ตัว ตัวหนึ่งเป็นลูกวัวที่กำลังใช้สีข้างถูกับโขดหิน และวัวอีกตัวที่ใหญ่กว่าก้มมองดูอยู่ด้วยท่าทางเป็นห่วง ภาพนี้สอดคล้องกับสำนวนจีนที่ว่า "แม่วัวย่อมประคบประหงมลูกวัว" ซึ่งอธิบายถึงความรักอันลึกซึ้งของพ่อแม่และอิงมาจากบทสนทนาระหว่างพ่อของเอียวสิ้วกับโจโฉหลังจากที่โจโฉสั่งประหารเอียวสิ้วในชีวประวัติของเอียวสิ้วจาก "หนังสือยุคปลายราชวงศ์ฮั่น"
Dish with overglaze enamelled decoration of Laozi mounted on a buffalo (Late Ming dynasty)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
จานเคลือบแต่งลวดลายเล่าจื๊อขี่ควาย | ศตวรรษที่ 17
จานใบนี้ก็ผลิตขึ้นในเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นสำหรับตลาดญี่ปุ่นในยุคปลายราชวงศ์หมิงเช่นกัน โดยมีภาพเล่าจื๊อในชุดสีเขียวกำลังขี่ควายและถือคทาหยูอี้ไว้ในมือ
ในการใช้ภาพแทนความบางภาพ เล่าจื๊อออกเดินทางบนเกวียนหรูที่ใช้วัวลากโดยมีข้ารับใช้ติดตามไปด้วย แต่ในภาพวาดและภาพพิมพ์ยุคปลายราชวงศ์หมิง เล่าจื๊อจะขี่ควายอยู่เพียงลำพังมากกว่า ซึ่งสื่อถึงความเป็นคนเรียบง่ายและมีความเป็นอิสระของเล่าจื๊อ ในยุคราชวงศ์ซ่งภาพนี้มีนัยสื่อถึงชีวิตอันยืนยาวและใช้เพื่ออวยพรวันเกิด
Water buffalo and crow (Dated 1949) โดย Ting Yin–yung (1902–1978)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
ควายกับนกกา | ติงเหยี่ยนยง (1902–1978)
หัวของวัวในภาพวาดดูคล้ายกับตัวอักษร "牛" ("วัว") ในการแกะสลักตราประทับของติงเหยี่ยนยง ผลงานชิ้นนี้ผสมผสานการเขียนพู่กันจีนกับการวาดภาพเข้าด้วยกัน โดยมีจุดเด่นคือฝีแปรงที่น่ารักเหมือนเด็กวาด เส้นโครงร่างลำตัวของวัววาดด้วยการลากพู่กันต่อเนื่องเป็นเส้นเดียวโดยใช้หมึกแห้ง ส่วนข้อความจารึกเขียนขึ้นเป็นอักษรเรียงต่อกันซ้ำๆ เพื่อเพิ่มความรู้สึกโดยรวมของภาพ
อารมณ์ที่สื่อออกมาชวนให้นึกถึงประโยคหนึ่งในบทกวีเรื่อง "ชีวิตบ้านๆ" ของจางชุ่นหมินจากยุคราชวงศ์ซ่งที่เขียนไว้ว่า "ยามอาทิตย์อัสดง ไม่มีผู้ใดขี่หลังวัวกลับมาบ้าน มีเพียงนกกาเกาะเคียงกันเป็นคู่" ผลงานทั้ง 2 ชิ้นสื่อถึงความรู้สึกของศิลปินเกี่ยวกับเรื่องเนื้อคู่
Bovine teapot with overhead handle (Early 20th century) โดย Attributed to Xu YouquanArt Museum, The Chinese University of Hong Kong
กาน้ำชารูปวัวพร้อมหูจับด้านบน | ต้นศตวรรษที่ 20
เครื่องปั้นจื่อชาไม่ได้มีเพียงกาน้ำชาแต่ยังรวมถึงของสะสมโบราณและสิ่งสวยงามสำหรับวางประดับโต๊ะนักปราชญ์ ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบโบราณและสุนทรียภาพแบบนักปราชญ์ก็มีอิทธิพลต่อการออกแบบกาน้ำชาด้วย
พวยการูปหัววัวและการออกแบบปลอกคอของชิ้นงานตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจจากภาชนะรูปสัตว์แบบโบราณ ส่วนหูจับรูปโค้งทรงสูงและตัวกาทรงกลมอาจดัดแปลงมาจากเหยือกใส่น้ำหรือไวน์แบบโบราณ ผลงานชิ้นนี้รวมรูปแบบที่หลากหลายของวัตถุโบราณเข้าด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของช่างปั้นที่มีต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ
Pottery ox cart (Han to Six Dynasties)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
เครื่องปั้นรูปวัวเทียมเกวียน | ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล - คริสต์ศตวรรษที่ 6
เกวียนวัวอาจมีอายุย้อนไปถึงยุคก่อนราชวงศ์ฉิน จากบทความเรื่อง "การเดินทางและเครื่องแต่งกาย" ในหนังสือจิ้น (Book of Jin) ชนชั้นสูงไม่ได้ใช้เกวียนวัวเป็นพาหนะสำหรับการเดินทางจนกระทั่งขุนนางในระบบศักดินาที่ถูกลดทอนอำนาจโดยจักรพรรดิฮั่นอู่เริ่มหันมาใช้พาหนะชนิดนี้ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้นจนถึงยุคทองของราชวงศ์ถัง เกวียนวัวจะมีการตกแต่งอย่างดีและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในครอบครัวชนชั้นสูง
ผลงานชิ้นนี้มีประตูทางขึ้นด้านหลังเพื่อให้ขึ้นเกวียนได้ง่าย และมีที่แขวนม่านด้านหน้าเพื่อบังแดด หากอ้างอิงตามชิ้นส่วนที่ขุดค้นพบ เกวียนวัวดั้งเดิมอาจมีพนักพิงหลังขนาดเล็กภายในห้องโดยสารที่กว้างขวาง การเดินทางอาจสะดวกสบายมากจนว่ากันว่าข้าราชการนักปราชญ์ในราชวงศ์เหลียงมักเดินทางด้วยเกวียนและไม่มีใครขี่ม้าให้เห็นเลยในย่านชานเมือง
Ox cart at the Xiang County (Landscape Sketches, no. 54) Ox cart at the Xiang County (Landscape Sketches, no. 54) (Republican period, dated 1942) โดย Yip Yan–chuen (1903–1969)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
เกวียนวัวที่อำเภอเซี่ยน (ภาพร่างทิวทัศน์ลำดับที่ 54) | เย่ยินฉวน (1903–1969)
ช่วงกลางของราชวงศ์ถังเป็นยุคตกต่ำของชนชั้นสูง เกวียนวัวจึงถูกเปลี่ยนจากพาหนะหรูหราที่ชนชั้นสูงชอบใช้กลับไปเป็นรถบรรทุกสัมภาระของชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันยังคงพบเห็นเกวียนเหล่านี้ได้ตามแถบชนบท
ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพร่างจากปี 1942 ซึ่งเป็นผลงานของเย่ยินฉวน นักวาดการ์ตูน เย่ยินฉวนมีชื่อเสียงด้านการถ่ายทอดสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันลงในภาพวาดของตน หลังจากยุทธการที่ฮ่องกงเมื่อปี 1941 ศิลปินผู้นี้หลบหนีไปยังมณฑลกว่างซีและเดินทางไปในทิศตะวันตกตามแนวแม่น้ำฉินและแม่น้ำเฉียน โดยในระหว่างนั้นเขาได้ร่างภาพและบันทึกประสบการณ์ไปด้วย ซึ่งอำเภอเซี่ยนเป็นสถานที่หนึ่งที่เย่ยินฉวนเดินทางผ่าน
Ox cart at the Xiang County (Landscape Sketches, no. 54) BackArt Museum, The Chinese University of Hong Kong
ที่ด้านหลังของภาพวาดมีข้อความที่ศิลปินเขียนไว้ว่า "ผู้คนในอำเภอเซี่ยนเดินทางด้วยเกวียนวัวกันเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วัว 2 ตัวในการลากเกวียนแต่ตัวที่อยู่ด้านหน้าทำท่าแสร้งว่ากำลังออกแรงดึงเท่านั้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีตัวข้างหน้าไว้ทำไม"
Herding (1949–1957) โดย Li Keran (1907–1989)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
คนเลี้ยงวัว | หลี่เขอหร่าน (1907–1989)
ในปี 1946 สูเปยหงเชิญให้หลี่เขอหร่านไปเรียนที่สถาบันสอนศิลปะแห่งชาติในเมืองเป่ยผิง ที่สถาบันดังกล่าวหลี่เขอหร่านได้รู้จักและเรียนศิลปะกับฉีป๋ายฉือเป็นเวลา 10 ปีนับตั้งแต่นั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวฉีป๋ายฉือจารึกข้อความไว้บนภาพวาดคนเลี้ยงวัวควายของหลี่เขอหร่านหลายภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรักที่เขามีต่อผลงานเหล่านั้น
ผลงานชิ้นนี้มีเส้นกรอบเป็นแนวทแยง ซึ่งเป็นเทคนิคที่หลี่เขอหร่านใช้เป็นประจำ ศิลปินจัดวางองค์ประกอบภาพควายที่กำลังแช่น้ำและเด็กเลี้ยงควายไว้ในแนวเส้นโค้งที่นุ่มนวล เพื่อให้องค์ประกอบแต่ละอย่างในฉากสอดประสานกันอย่างลงตัว ช่วงลำตัวของควายวาดด้วยหมึกเป็นวงและลงหมึกซ้ำหลายครั้งเป็นเฉดต่างๆ เพื่อให้ดูเป็นสีดำที่มีมิติและผิวสัมผัส
The Buffalo Ride (Modern) โดย Lo Koon–Chiu (1918–2012)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
ขี่ควาย | หลัวกวนเฉียว (1918–2012)
หลัวกวนเฉียวสำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์กว่างโจว และได้ผ่านการฝึกวาดภาพสไตล์ตะวันตก ผลงานของเขาจึงมีสัดส่วนมุมมองที่แม่นยำและดูมีชีวิตชีวาผ่านสีสันที่สดใสและฉากที่เด่นชัด
ตัวอย่างเช่นผลงานชิ้นนี้ที่เป็นภาพควาย 2 ตัวกำลังว่ายน้ำข้ามฝั่ง ตัวหนึ่งลุยน้ำไปตามอำเภอใจ ทำให้เด็กเลี้ยงควายต้องตะโกนเรียกอย่างร้อนใจ
อีกด้านหนึ่งของภาพวาดเป็นต้นหลิวที่โน้มกิ่งลงเหนือแม่น้ำ ซึ่งสื่อถึงความมีชีวิตชีวาของฤดูใบไม้ผลิ
Record of the iron ox in Guizhou in running-cursive script (Qing dynasty (1644–1911)) โดย Su Renshan (1814–1849)Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
บันทึกเกี่ยวกับรูปหล่อวัวเหล็กในมณฑลกุ้ยโจวที่เขียนด้วยลายมือแบบต่อเนื่อง
ซูเหรินชานล้มเลิกความตั้งใจในการเป็นข้าราชการตั้งแต่อายุยังน้อยและหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นครูสอนพิเศษส่วนตัวหรือที่ปรึกษา เขาเดินทางไปมาระหว่างมณฑลกว่างตงกับกว่างซีอยู่เป็นประจำ ผลงานชิ้นนี้เป็นบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชาวกุ้ยโจวในการหล่อรูปวัวเหล็กขึ้นมาเพื่อสวดมนต์ขอพรให้เกิดสันติภาพและความมั่นคง
จากจารึกข้อความของซูเหรินชาน ผลงานชิ้นนี้มีต้นแบบมาจากสไตล์การเขียนพู่กันจีนของหมี่ฝูที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ซูเหรินชานเขียนบันทึกนี้ขึ้นด้วยมือข้างซ้าย ซึ่งทำให้ผลงานชิ้นนี้มีความพิเศษมากยิ่งขึ้นไปอีก
Hundred Oxen (Ming dynasty (1368–1644))Art Museum, The Chinese University of Hong Kong
วัวร้อยตัว | ศตวรรษที่ 14 - ศตวรรษที่ 17
ผลงานชิ้นนี้ประกอบไปด้วยวัวควาย 100 ตัวที่กำลังวิ่งเล่นอยู่ริมแม่น้ำบริเวณรอบนอกของหมู่บ้าน
ในภาพมีควาย 98 ตัว วัว 2 ตัว...
...และเด็กเลี้ยงสัตว์ 33 คนในท่าทางต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในบันทึกทางประวัติศาสตร์มีการตีความภาพนี้ไว้แตกต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นการเปรียบเทียบการปกครองด้วยความเมตตากับสังคมที่สงบสุข บ้างก็เชื่อว่าเป็นความแตกต่างกันระหว่างอาชีพที่ยากลำบากในวงการข้าราชการกับวัวควายที่เที่ยวเล่นอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพเมื่อได้เดินทางกลับชนบท ในพุทธศาสนานิกายเซนยังมีการใช้วัวควายเพื่อเปรียบเทียบกับจิตใจอีกด้วย
การฝึกและการเลี้ยงวัวควายให้เชื่องเปรียบเสมือนการฝึกจิตและการแสวงหาหนทางแห่งชีวิต "บทกวีถึงกระทิง 10 ตัว" ของผู่หมิง ปรมาจารย์นิกายเซน ซึ่งมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง ได้แบ่งการเลี้ยงวัวออกเป็นช่วงต่างๆ เช่น "ไม่เชื่อง" "เริ่มฝึก" "สนตะพาย" "เชื่อฟัง" และ "เชื่อง" เพื่ออธิบายขั้นตอนการฝึกจิตด้วยตนเอง
เนื้อหานี้จัดทำขึ้นโดยอิงจากนิทรรศการ "เฉลิมฉลองปีวัว" ซึ่งมีดร. แซม ถงหยู่ (นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง) เป็นผู้ดูแล
คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดนิทรรศการ
สนใจเรื่อง Visual arts ใช่ไหม
รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ
เรียบร้อยแล้ว
Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้