การฟื้นประวัติศาสตร์ผู้หญิงอเมริกัน

ดร. Elizabeth Harmon ขณะค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของสะสมของสถาบันสมิธโซเนียนเพื่อรวบรวมเรื่องราวของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์

โดย Google Arts & Culture

เขียนโดย Dr. Elizabeth Harmon ภัณฑารักษ์ของ Digital Works ที่ Smithsonian Institution Libraries and Archives

Surfacing Women in Science in Smithsonian History

ประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนบอกเล่าเรื่องราวระดับชาติเกี่ยวกับการต่อสู้ที่ผู้หญิงต้องเผชิญเพื่อให้ได้รับการยอมรับและความเท่าเทียมโดยสมบูรณ์ในที่ทำงาน

Postcard of the Smithsonian Castle (June 21, 1921) โดย B.S. Reynolds Co. Washington, DCแหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 95, Box 84, Folder 25

สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นในปี 1846 เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและเป็นหนึ่งในสถาบันทางวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศ ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา มีผู้หญิงที่ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติ (National Museum of Natural History), สวนสัตว์และสถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์แห่งชาติ (National Zoo and Conservation Biology Institute), หอดูดาวสมิธโซเนียน (Smithsonian Astrophysical Observatory), พิพิธภัณฑ์ยานบินและยานอวกาศแห่งชาติ (National Air and Space Museum), พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งชาติ (National Museum of American History), ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสมิธโซเนียน (Smithsonian Environmental Research Center), สถาบันวิจัยเขตร

Portrait of officers of American Association for the Advancement of Science, including Rev. James Owen Dorsey and Mrs. Erminnie A. Smith, 1885 (1885)แหล่งที่มาเดิม: Smithsonian National Anthropological Archives NAA INV 02872300, Photo Lot 33.

ในทศวรรษ 1970 นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้แก่ ดร. Margaret W. Rossiter และ ดร. Sally Gregory Kohlstedt ได้เผยแพร่ทุนการศึกษาพื้นฐานด้านประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ ขณะที่วางรากฐานสำหรับสาขาใหม่ของการวิจัย ทั้งสองได้ระบุชื่อของผู้หญิงคนแรกๆ ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา และสำรวจผลจากการดำเนินการของตนที่มีต่อสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์

งานวิจัยของทั้งสองเป็นแรงบันดาลใจให้นักประวัติศาสตร์และนักจดหมายเหตุที่สถาบันสมิธโซเนียนทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของสะสมและดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการฟื้นประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ หนึ่งในผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวได้แก่ Erminnie A. Smith (1836-1886) นักมานุษยวิทยาที่ได้ร่วมงานกับสถาบันสมิธโซเนียน โดยเป็นเจ้าหน้าที่หญิงคนแรกของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science)

SAO Staff (1941) โดย Johnston, Earl Sแหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 7005, Box 186, Folder 4

ปัจจุบันนักวิจัยของสถาบันสมิธโซเนียนกำลังดำเนินการกับข้อมูลสิ่งของสะสมที่ได้รับการแปลงให้เป็นรูปแบบดิจิทัลเมื่อเร็วๆ นี้ และใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อฟื้นประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนต่อไป แม้ว่าบันทึกจดหมายเหตุและเรื่องราวเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่สำคัญในยุคแรกๆ ของผู้ชายในการเป็นผู้นำที่สถาบันสมิธโซเนียนจะมีอยู่มากมาย แต่การค้นหาบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอาชีพและความสำเร็จของผู้หญิงก็ยังยากกว่ามาก

รูปภาพของเจ้าหน้าที่หอดูดาวสมิธโซเนียนในปี 1941 แสดงให้เห็นผู้ช่วยนักสรีรวิทยาของพืช Florence Meier Chase (1902-1978) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรกๆ ที่เริ่มทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนด้วยวุฒิปริญญาเอก ดร. Chase ศึกษาผลกระทบของแสงแดดที่มีต่อพืช ดร. Chase เผยแพร่บทความเกี่ยวกับแสงอัลตราไวโอเลตและสาหร่าย และเธอเป็นสมาชิกของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science) และเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมพฤกษศาสตร์วอชิงตัน (Washington Botanical Society)

Louisa Bernie Gallaher Models Dress (1880) โดย United States National Museum Photographic Laboratoryแหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Acc. 11-006, Box 003, Image No. MAH-2301

นักจดหมายเหตุที่หอจดหมายเหตุสถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution Archives) กำลังดำเนินการต่างๆ เช่น ฟื้นฟูมรดกทางวิชาชีพของช่างภาพวิทยาศาสตร์ Louisa Bernie Gallaher (1858-1917) Gallaher ร่วมงานกับ Smithsonian ในปี 1878 เธอเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรกๆ ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียน และบทความในหนังสือพิมพ์เผยว่าเพื่อนร่วมงานมองว่าเธอเป็นผู้นำด้านการถ่ายภาพทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้มีการระบุแหล่งที่มาของผลงานส่วนใหญ่อย่างไม่ถูกต้องว่าเป็นของเจ้านายของเธอ แม้ว่าเจ้านายคนดังกล่าวจะสนับสนุนงานของเธอเป็นอย่างดี แต่การแสดงแหล่งที่มาอย่างผิดพลาดนั้นเกิดจากการถือเอาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงานของฝ่ายนี้ของเจ้าหน้าที่และนักวิจัยในช่วงปีต่อๆ มา

Smithsonian American Women's History Initiative

เพื่อช่วยฟื้นประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ต่อไป โครงการริเริ่มด้านประวัติศาสตร์ผู้หญิงอเมริกันของสถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian American Women's History Initiative) ชื่อ Because of Her Story อยู่ระหว่างการสร้าง ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่บันทึกทางประวัติศาสตร์ของความสำเร็จของผู้หญิงอเมริกันให้รับรู้กันในวงกว้าง โครงการริเริ่มนี้ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศในการค้นคว้า รวบรวม จัดทำเอกสาร แสดง และแชร์เรื่องราวอันน่าสนใจของผู้หญิงในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โครงการ Because of Her Story ซึ่งใช้แนวทางเน้นดิจิทัลเป็นอันดับแรกกำลังนำร่องโดยใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากมวลชน และเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ดิจิทัลเพื่อขยายขนาดตัวแทนข้อมูลจากสิ่งของสะสมต่างๆ ขอ

Dr. Vicki Funk, senior research botanist and curator of botany, inspects a weed specimen sent to the Museum from Australia (2009) โดย Adrian James Testaแหล่งที่มาเดิม: Smithsonian National Museum of Natural History, Image no. 2009-13100.

ในปี 2018 Vicki Funk (1947-2019) นักพฤกษศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติของสถาบันสมิธโซเนียน ทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ที่หอจดหมายเหตุสถาบันสมิธโซเนียนเพื่อเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในการระบุและทำการวิจัยเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนอย่างเป็นระบบ

ทีมที่ได้รับแรงบันดาลใจรวบรวมรายชื่อผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์จากบรรดาเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน และเริ่มระบุบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาบันสมิธโซเนียนโดยการสนับสนุนจากโครงการริเริ่มด้านประวัติศาสตร์ผู้หญิงอเมริกันได้ว่าจ้างภัณฑารักษ์ดิจิทัลเพื่อสานต่องานในการดูแลให้บทบาทของผู้หญิงที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามีความถูกต้อง เป็นที่รับรู้ และเสริมสร้างพลังใจแก่ผู้คนต่อไป

Mary Agnes Chase on an expedition to Brazil in 1929 (1929)แหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 229, Image no. 2009-2576-000001

นักประวัติศาสตร์ นักจดหมายเหตุ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสมาชิกในโครงการริเริ่มด้านประวัติศาสตร์ผู้หญิงอเมริกันกำลังค้นคว้า จัดทำเอกสาร และเผยแพร่แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในสายงานวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียน เหล่านักวิจัยต้องการเผยแพร่เรื่องราวของผู้หญิงอย่าง Mary Agnes Chase (1869-1963) ภัณฑารักษ์กิตติมศักดิ์ด้านต้นหญ้าที่สถาบันสมิธโซเนียนให้เป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง Chase เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต้นหญ้าระดับแนวหน้าในยุคของเธอ แต่ตามข้อมูลที่ได้รับจากนักวิจัย เธอต้องสนับสนุนเงินทุนให้แก่งานวิจัยภาคสนามของเธอเองเมื่อถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปศึกษาวิจัยร่วมกับทีมชายล้วนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

Sophie Lutterlough at a Microscope (1983) โดย Harold E Doughertyแหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 371, Image no. 2009-3239-000001

ในฤดูหนาวปี 2021 เจ้าหน้าที่ของสถาบันสมิธโซเนียนได้ระบุผู้หญิงกว่า 500 คนที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ตามพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยต่างๆ ของสถาบันตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้นักวิจัยค้นพบสิ่งของต่างๆ จากหน่วยงานของสถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งรวมถึงวัตถุและตัวอย่างมากกว่า 155 ล้านชิ้น ตลอดจนเอกสารในห้องสมุดและจดหมายเหตุ ทั้งหมดนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้หญิงอย่างเช่น Sophie Lutterlough (1910-2009) ซึ่งน่าจะเป็นผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนเมื่อเธอได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้เตรียมแมลงในปี 1957

GAC Browser

เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสมิธโซเนียนได้ร่วมมือกับ Google Arts & Culture ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของโครงการริเริ่ม Open Access เพื่อใช้แมชชีนเลิร์นนิงในการค้นหาข้อมูลเมตาของสิ่งของสะสมของสถาบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายและจัดโครงสร้างสิ่งของสะสม เพื่อเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ในสถาบันสมิธโซเนียน จากการใช้ชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้หญิงที่เคยทำงานด้านวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียน Google ได้ใช้อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อระบุ "เอนทิตีที่มีชื่อ" (ได้แก่ บุคคล สถานที่ หรือวันที่ เป็นต้น) ทั้งในข้อมูลเมตาของสิ่งของสะสมของสถาบันสมิธโซเนียนและจากข้อความในรายงานประจำปีของสถาบันสมิธโซเนียน จากนั้นจึงสร้างมุมมองระดับเครือข่ายเพื่อเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเอน

Taxonomy Card (1911-08-17) โดย Rathbun, M. J.และDandridgeแหล่งที่มาเดิม: Department of Invertebrate Zoology, Smithsonian National Museum of Natural History, Catalog No. USNM 43175, Accession no. 053131.

เมื่อนักวิจัยของสถาบันสมิธโซเนียนเรียกดู "โหนด" ในเครือข่ายเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับสถานที่ต่างๆ ในข้อมูลเมตาทั้งหมดของสิ่งของสะสม ก็ค้นพบความเชื่อมโยงอันน่าตื่นเต้นระหว่างผู้หญิง 3 คนจากผู้หญิงกลุ่มแรกสุดในสายงานวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งได้แก่ Mary Jane Rathbun, Serena Katherine “Violet” Dandridge และ ดร. Harriet Richardson Searle

หลักฐานชิ้นสำคัญคือบัตรอนุกรมวิธานนี้ที่มีรายละเอียดการเดินทางไปยัง Casco Bay รัฐเมน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในปี 1911 หลักฐานชิ้นนี้ปรากฏอยู่ในข้อมูลเมตาของสิ่งของสะสมที่เกี่ยวข้องกับ Mary Jane Rathbun ซึ่งน่าจะเป็นภัณฑารักษ์หญิงคนแรกของสถาบันสมิธโซเนียน

Page from 1911-1912 Division of Marine Invertebrates Curators’ Annual Report describing a research trip to Maine (1911/1912)แหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 158, Box 42, Folder 4.

Mary Jane Rathbun พร้อมด้วย Serena Katherine “Violet” Dandridge ซึ่งเป็นนักวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ได้เดินทางไปยัง South Harpswell รัฐเมน และ Woodshole รัฐแมสซาชูเซตส์เป็นเวลา 1 เดือนในเดือนสิงหาคม 1911 เพื่อศึกษาสีสันของสัตว์ทะเลสำหรับนิทรรศการที่กำลังจะจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ บัตรอนุกรมวิธานที่ระบุในการทดสอบของแมชชีนเลิร์นนิงยังเผยให้เห็นด้วยว่า ดร. Harriet Richardson Searle นักวิจัยในฝ่ายสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้ระบุตัวอย่างบางส่วนที่ Rathbun และ Dandridge รวบรวมไว้

Mary Jane Rathbun and Waldo LaSalle Schmitt (Unknown, perhaps 1920s)แหล่งที่มาเดิม: Smithsonian Institution Archives, Record Unit 7231, Box 119

Mary Jane Rathbun (1860-1943) ทำงานเป็นภัณฑารักษ์ด้านสัตว์จำพวกกุ้งกั้งปูที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (หรือ United States National Museum ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติ หรือ National Museum of Natural History) ตั้งแต่ปี 1886 ถึง 1940 เธอเริ่มทำงานที่สถาบันสมิธโซเนียนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่คัดสำเนาในฝ่ายสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง และในที่สุดก็กลายเป็นภัณฑารักษ์ เธอเป็นนักเขียนและนักวิจัยที่มีผลงานมากมาย และมีชื่อเสียงอย่างมากจากผลงานหนังสือชุด 4 เล่มเกี่ยวกับปูของอเมริกา ตามข้อมูลที่ได้จากเพื่อนร่วมงาน ในปี 1914 Rathbun ลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับเงินเดือนเพื่อจะได้ใช้เงินเดือนนี้ในการว่าจ้างผู้ช่วยซึ่งจะช่วยงานเธอ เธอทำงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนตลอดระยะเวลาการทำงานที่เหลือ

Portrait of Serena Katherine Dandridgeแหล่งที่มาเดิม: Bedinger and Dandridge Family Papers, David M. Rubenstein Rare Book & Manuscript Library, Duke University

Serena Katherine “Violet” Dandridge (1878-1956) ทำงานเป็นนักวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสมิธโซเนียนประมาณปี 1903 ถึง 1915 Dandridge สนับสนุนขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งและเพิ่มพูนความสนใจด้านศิลปะและธรรมชาติตลอดชีวิตของเธอ

Graduation photograph of Harriet Richardson from 1896 (1896)แหล่งที่มาเดิม: Archives and Special Collections, Vassar College Library, Ref 3.1186

ดร. Harriet Richardson Searle (1874-1958) ทำงานเป็นผู้ประสานงานและต่อมาเป็นผู้ร่วมวิจัยที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (หรือ United States National Museum ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติ หรือ National Museum of Natural History) ประมาณปี 1896 ถึง 1913 ดร. Searle ได้รับปริญญาเอกสาขาสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน งานวิจัยและสื่อเผยแพร่ของเธอมุ่งเน้นการจำแนกประเภทไอโซพอดอย่างเป็นระบบ

Multi-Dimensional Feature Clustering (Smithsonian Open Access)

ในช่วง 175 ปีแห่งประวัติศาสตร์ของสถาบันสมิธโซเนียน ผู้หญิงได้เป็นผู้นำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดบางส่วนและยังได้พัฒนาของสะสมในคอลเล็กชันที่สำคัญบางรายการอีกด้วย ในขณะที่นักวิจัยพยายามเผยแพร่ประวัติศาสตร์ดังกล่าวให้เป็นที่รับรู้ยิ่งขึ้น การทดสอบนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น โครงการริเริ่มด้านประวัติศาสตร์ผู้หญิงอเมริกันจะยังคงค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของสะสมของสถาบันสมิธโซเนียน ตลอดจนข้อมูลเมตาที่ใช้อธิบายและจัดโครงสร้างสิ่งของสะสมเหล่านั้นอยู่ต่อไป เพื่อฟื้นคืนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงอเมริกันที่ฝังลึกอยู่ในบันทึกและประวัติศาสตร์ของสถาบันสมิธโซเนียน

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด