เมื่อดอกไม้ผลิบาน ศิลปะผลัดใบ กับการดำรงอยู่ของศิลปกรรมแห่งชาติท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง

Sixty Years of Thai National Exhibition of Art

เมื่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยในปีพ.ศ. 2540 (ต้มยำกุ้ง) เริ่มที่จะคลี่คลาย ประเทศกลับสู่การฟื้นฟูทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ทุกอย่างเหมือนจะไปได้ด้วยดี มีการบริหารประเทศที่เริ่มใส่ใจคนจากรากหญ้าขึ้นไปสู่ด้านบน เศรษฐกิจขยายตัว มีการปลดภาระหนี้ต่างประเทศได้สำเร็จ

Thinking of Grandmother (1987) โดย Araya RasdjarmrearnsookArt Centre Silpakorn University

นับได้ว่าประเทศเข้าสู่ยุคเครื่องจักรของการพัฒนาที่เริ่มเดินเครื่องอีกครั้ง 

Mystic (1988) โดย Teerawat KanamaArt Centre Silpakorn University

แต่แล้วประเทศก็เข้าสู่การรัฐประหารอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นต้นตอของเรื่องราวที่บานปลายมาจนถึงทุกวันนี้ การโค่นล้มรัฐบาลที่แข็งแกร่งจากความเป็นประชาธิปไตยในครั้งนั้นได้สร้างปัญหาและภาวะของวิกฤตทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นอย่างมาก สังคมได้แตกแยกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน

ในช่วงทศวรรษ 2540 – 2550 เป็นต้นมา หากจะมองศิลปะที่เกิดขึ้นในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นเวทีการประกวดศิลปกรรมหลักของประเทศนั้น มิได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ผลงานยังคงแสวงหาอัตวิสัย มุ่งค้นหาสัจธรรมที่แท้จริง ในมิติของความดีที่คู่กับความงาม หรือไม่ก็พัฒนาผลงานมาในแนวทาง รูปทรงนิยม (formalism) ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น

Old Family, Pitiwat Somthai, 1991, จากคอลเล็กชันของ: Art Centre Silpakorn University
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

Cosmo Memory (2002) โดย Thamrongsak Nim-anussornkulArt Centre Silpakorn University

ด้วยการสร้างภาพแทนทางสังคมเป็นส่วนผสมลงไปในผลงาน ผลงานจึงเป็นการกล่าวถึงสังคมในมิติที่กว้าง เน้นการจัดวางองค์ประกอบที่ลงตัว มีการใช้ทัศนธาตุมาเป็นส่วนประกอบเพื่อบรรลุถึงเนื้อหา

HOME: Political Crisis (2014) โดย Parinya TantisukArt Centre Silpakorn University

เป็นที่น่าสนใจว่าสีในการสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ราวทศวรรษ 2530-2560 ค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ มืดๆทึมๆ 

สีในโทนสว่างจะไม่ถูกนำมาใช้ในผลงาน เช่น ผลงานของ ปริญญา ตันติสุข ตั้งแต่ปีพ.ศ.2530 เป็นต้นมามีสีสันที่สดใสเริ่มเบนมาสู่การใช้สีที่มืดทึม หรือบางผลงานก็จะมีจุดสว่างวาบขึ้นมา บรรยากาศที่มืดสลัวในผลงาน 

Immigration 2002/2 (2002) โดย Wuttipong RojkasamesriArt Centre Silpakorn University

รวมถึงงานประติมากรรมที่เน้นการทำสีวัสดุสีดำเพื่อแสดงถึงความหนาหนักในปริมาณของรูปทรง 

Home... (Note from the New Word) (2006) โดย Kiatanan IamchanArt Centre Silpakorn University

ในภาวะบ้านเมืองที่มืดๆทึมๆ ผลงานในพื้นที่ศิลปกรรมแห่งชาติก็ได้กลับมาพูดถึงเรื่องประเด็นที่เคลื่อนตัวออกจากตัวเองอีกครั้ง 

If You Were Me (2006) โดย Watchara HualpiromArt Centre Silpakorn University

ในรูปแบบที่สะท้อนปัญหาทางสังคมไม่ว่าจะเป็นชีวิตเมือง สังคม พิษภัยของโลกเทคโนโลยี ศาสนา บาปและภพภูมิของผู้ซึ่งมีบาปในโลกปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเคลื่อนตัวออกจากแนวทาง รูปทรงนิยม (formalism) ได้อย่างน่าสนใจ 

Ghost Family (2009) โดย Weerasak SutsadeeArt Centre Silpakorn University

ทั้งนี้เมื่อการใช้รูปทรงเริ่มอิ่มตัวและดูเหมือนว่าถอยห่างจากการสร้างสรรค์ สิ่งที่มาแทนที่คือการสรรค์สร้างรูปกายมนุษย์ขึ้นมาในรูปลักษณ์ต่างๆเพื่อมาเป็นภาพแทนของเรื่องราวและปัญหาต่างๆที่บิดเบี้ยวทางสังคม 

รูปกายนี้มีทั้งการแสดงออกแบบสัจนิยมตรงไปตรงมา หรือในแบบจินตนิยม ที่เน้นการแสดงออกของอารมณ์ของร่างกายมนุษย์และบรรยากาศในผลงาน หรือในแบบเหนือจริง (แบบไทยๆ) Surrealism ที่มีการผสมผสานในทุกๆแนวทางการแสดงออกเพื่อที่จะสื่อสารในเรื่องที่ต้องการ

ทั้งนี้หลังทศวรรษ 2540 เป็นต้นมาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมิได้มีเส้นจำกัดรูปแบบที่ตายตัว หรือมีลัทธิใดมาครอบงำการสร้างสรรค์ ทุกรูปแบบหรือทุกมโนทัศน์ที่ศิลปินแสดงออกนั้นมีความหลายหลายในทุกมิติ ความหลากหลายนี้เองสะท้อนถึงโลกที่เคลื่อนตัวสู่ความเป็นโลกาภิวัฒน์ การย่นย่อระยะทางของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แกนกลางในการสร้างสรรค์แปรเปลี่ยนไป ทุกสิ่งลื่นไหลถ่ายเทอย่างมิจำกัด

Fragment of Merit - Sin (2006) โดย Anupong ChantornArt Centre Silpakorn University

พุทธศิลป์หรือผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยเป็นที่นิยมอย่างมาในทศวรรษหลัง 2540 เป็นต้นมา ทั้งในรูปแบบการตีความใหม่ในกรอบเรื่องไตรภูมิ ทั้งการนำพุทธสภาวะมานำเสนอถึงความสงบ ความดี ความงาม สังขาร 

รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ที่ทำผิดบาปในวินัย 

ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวได้หลั่งไหลเข้ามาสู่พื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างมาก ในช่วงหลังผลงานมักมีการตรวจสอบสังคมหรือตัวตนที่เป็นอัตวิสัย ใช้ตนเองเป็นที่ตั้งของสมมติฐานผนวกกับกรอบความคิดของความเป็นพุทธที่ยังคงเป็นหนึ่งในแก่นความคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน

Loss and Hope No.4, Keeta Isran, 2012, จากคอลเล็กชันของ: Art Centre Silpakorn University
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ในช่วงทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา แนวทางที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้นเรื่องราวทางวัฒนธรรม คนพลัดถิ่น คนไทยต่างเชื้อสาย คนชายขอบ หรือความเป็นชุมชนที่มีการแสดงออกในเรื่องราวที่เคยถูกกดทับจากรัฐอย่างยาวนาน รวมทั้งผลกระทบความรุนแรงในชายแดนใต้ของไทย ซึ่งพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นพื้นที่แรกๆที่ฉายภาพการแสดงออกถึงปัญหาความรุนแรงในดินแดนดังกล่าวผ่านผลงานศิลปะ

Sanctuary Inside the Soul No.2 (2015) โดย Praween PiangchompuArt Centre Silpakorn University

อีกปรากฏการณ์ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้คือการกลับมาของภาพพิมพ์ที่เน้นทักษะฝีมือ การให้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่เหมือนจริง เช่นในผลงานของ บุญมี แสงขำ  จักรี คงแก้ว  ประวีณ เปี่ยงชมภู สุรศักดิ์ สอนเสนา 

Emptiness (2012) โดย Kamolpan ChotvichaiArt Centre Silpakorn University

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่หลุดออกจากมิติที่แบนราบ เช่น กมลพันธ์ โชติวิชัย จิรนันท์ จุลบท ซึ่งมีความน่าสนใจในประเด็นของการหวนคืนไปสู่การให้ความสำคัญเกี่ยวกับทักษะฝีมือ มากกว่าการให้ความสำคัญในด้านเนื้อหาของผลงาน

Formation of One Thing Lies on Deterioration of Another No.3 (2011) โดย Suporn KaewdaArt Centre Silpakorn University

เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าปลายทศวรรษ 2550 จนถึงต้นทศวรรษ 2560 การใช้สีในการสร้างสรรค์ผลงานเหมือนจะกลับเข้าสู่ยุคมืดๆทึมๆที่ชัดเจนมากกว่าทุกครั้ง เฉดขาว เทา ดำ เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปินเป็นอย่างมาก ทั้งในรุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่  

ที่ชัดเจนสุดคงเป็นผลงานของ สุพร แก้วดา ที่มีเพียงแค่การเขียนดินสอไขสีขาวบนพื้นผ้าใบสีดำเพียงเท่านั้น 

ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุผลของการเลือกใช้เฉดสีที่จำกัดนี้มาจากสาเหตุใด อาจเป็นเหตุปัจจัยแวดล้อมรอบข้างไม่ว่าจะเป็นชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่เป็นปัจจัยทำให้สีในการสร้างสรรค์ในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติดังกล่าวลดน้อยถอยลง   

Chiangmai at Present (2012) โดย Sutikierd PumpoungArt Centre Silpakorn University

อย่างไรก็ดีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอยู่คู่เคียงข้างพัฒนาการศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยไทยมาตั้งแต่อดีต และยังคงมอบพื้นที่ให้การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่อนาคต เมื่อศิลปะเป็นดั่งกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนสังคม พื้นที่ของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติก็ควรจะทำหน้าที่ดังกล่าวเช่นกัน 

ในประวัติศาสตร์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติได้เดินทางเคียงข้างสังคมมาโดยตลอด 

Repercussion of War (2008) โดย Marut ThavonratArt Centre Silpakorn University

ความพลิกผันต่างๆทางสังคมไหลเวียนผ่านผลงานศิลปะในพื้นที่นี้มากกว่า 60 ปี การเกิดขึ้นของรูปแบบและเนื้อหาของศิลปะอันหลากหลายทำให้ฉายภาพปรากฏการณ์บางอย่างทางสังคมที่สามารถวิเคราะห์ให้เห็นถึงพัฒนาการสังคมและมนุษย์ได้อย่างน่าสนใจ 

Humans No.2 (2007) โดย Panuwat SitthichokeArt Centre Silpakorn University

ท้ายสุดนี้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นดั่งสายน้ำแห่งหนึ่งที่หล่อเลี้ยงศิลปะที่มีเส้นทางยาวไกล รวบรวมเรื่องราวต่างๆนานามากมาย เก็บเกี่ยววิวัตนาการทางศิลปะจนมองกลับไปกลายเป็นประวัติศาสตร์บทหนึ่งของศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทย

เครดิต: เรื่องราว

Artworks featured in this story are parts of Silpakorn Art Collections. They are award-winning works from the National Exhibition of Art and Exhibition of Contemporary Art by Young Artists, under the care and management of the Art Centre Silpakorn University.

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
เรื่องราวจาก Art Centre Silpakorn University
สำรวจเพิ่มเติม
ธีมที่เกี่ยวข้อง
Thailand Art Up Close
Explore 70 years of Thailand art history
ดูธีม

สนใจเรื่อง Visual arts ใช่ไหม

รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ

เรียบร้อยแล้ว

Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้

หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด