ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในสยาม ภาพชุดนี้ได้บอกเล่าถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์อย่างใกล้ชิด

โดย Bangkok Art and Culture Centre

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ราษฎรพายเรือมารอรับเสด็จฯ (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา (๒๓๙๔-๒๔๑๑) วิถีชีวิตของชาวสยามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะสามัญชน หากรวมถึงพระมหากษัตริย์และบรรดาเจ้านายพระราชวงศ์ด้วย

นายคนังปีนต้นไม้ (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ความสนใจที่มีต่อวัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ทำให้แนวคิดและวิถีแห่งกษัตริย์มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่เป็นสมมติเทพอันสูงส่ง

เจ้านายฝ่ายหน้า (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระราชานุกิจต่างๆ เป็นไปตามแบบแผนโบราณราชประเพณีอย่างเคร่งครัด ก็มีความผ่อนคลายลง มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

กระบวนเรือเสด็จประพาสต้น (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องยากที่พระราชวงศ์หรือพระบรมศานุวงศ์จะเสด็จประพาสหรือแปรพระราชฐานออกนอกพระนคร

เรือพระที่นั่งสุวรรณวิจิก (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

อย่างไรก็ต่าม ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เริ่มเสด็จประพาสและแปรพระราชฐานไปตามที่ต่างๆ เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ

ตำหนักพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

มีการสร้างพระตำหนักหลายแห่งนอกพระนครเพื่อเป็นที่ประทับ เช่น พระนครคีรี หรือเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี และพระราชวังบางปะอิน ที่พระนครศรีอยุธยา

บันไดทางขึ้นตำหนัก (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ศาลาโถง ๕ ยอด (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ราษฎรรอรับเสด็จฯ (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็ยิ่งเห็นชัดเจนมากขึ้น ด้วยพระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ พร้อมเหล่าเจ้านายพระราชวงศ์

ทหารเรือลำเลียงสัมภาระ (1905) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

“เสด็จประพาสต้น” คือเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์โดยมิให้ใครรู้จัก เพื่อจะได้ทรงใกล้ชิดและทราบทุกข์สุขที่แท้จริงของชาวบ้าน เป็นการเสด็จประพาสที่ทรงสนุกสนานสำราญพระราชหฤทัย ราษฎรมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าเหนือหัวที่ตนเคารพเทิดทูนอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองอย่างที่สุด

พลับพลาที่เกาะสีชัง (1892/1893) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

เรากำลังร่วมเดินทางไปในการเสด็จประพาสในครั้งกระนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่เกาะสีชัง ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและบรรดาเจ้านายผู้โดยเสด็จ ประทับทรงพระเกษมสำราญท่ามกลางแสงแดดและอายทะเล

พระมหาธาตุ วัดเจดีย์เจ็ดยอด (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

หรือที่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง รวมทั้งโปรดให้จัดการแสดงละครโดยให้เจ้านายรับบทบาทต่างๆ

พระพุทธรูปในวัดพระแก้ว (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระพุทธรูป วัดพระแก้ว ในเขตเมืองโบราณไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร

บ้านหูกวาง (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

และที่ นครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงแสดงเป็นเจ้าฟ้าเพชร (กลาง) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เป็นเจ้าฟ้าพร และพระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์) เป็นนายผล มหาดเล็ก (หน้า) เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙

ภาพพระองค์เจ้าอุรุพงศ์ (1902/1905) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในช่วงปีที่เสด็จประพาสต้นทั้งสองครั้ง (พ.ศ. ๒๔๗๗ และ พ.ศ. ๒๔๔๙) และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๕๐) อันเป็นช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงประสบกับความโทมนัสแสนสาหัส ด้วยทรงสูญเสียพระราชโอรสและพระราชธิดาหลายพระองค์ รวมถึง พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช

พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช ประสูติในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสผู้ทรงสนิทเสน่หาและใกล้ชิดประดุจ “ธารพระกร” ซึ่งจะตามเสด็จพระองค์ไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จประพาสต้น หรือประพาสต่างประเทศ

พระเมรุงานพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ (1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช สิ้นพระชนม์ ด้วยทรงเป็นพระราชโอรสผู้ทรงสนิทเสน่หา ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงประสบกับความโทมนัสแสนสาหัส

พระเมรุงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ที่สวนมิสกวัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒

ทุ่งเขาพนมขวด (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ทรงพระวิปโยคอาดูรถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “... จะทนอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ไหวด้วยรู้สึกไม่สบายมาก จึงจะออกไปอยู่เพชร สบายจึงจะกลับ...”

ถ้ำเขาหลวง (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตหนึ่งปีหลังจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช พระราชโอรสสิ้นพระชนม์

แตะเพื่อสำรวจ

เชิญชมนิทรรศการ เพื่อเพลิดเพลินไปกับ ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เครดิต: เรื่องราว

กระทรวงวัฒนธรรม
กรมศิลปากร
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
มูลนิธิสิริวัฒนภักดี
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ
Wet Plate and Alternative Process Thailand

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด