โดย Bangkok Art and Culture Centre
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (1879/1881) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
ความตื่นเต้นดูราวจะอบอวลในอากาศเมื่อสยามก้าวเร่งรุดไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง หัวรถจักรไอน้ำพาเราเดินทางจากบางกอกไปยังหัวเมืองต่างๆ ตามทางรถไฟที่เริ่มแผ่ขยายออกไปจากพระนคร
บ้านพระยาบุรีนวราษฐ (1910/1918) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
การขนส่งพัสดุไปรษณีย์ (1925/1934) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
กิจการรถไฟแรกมีในสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์โดยเชื่อมโยงระบบและเส้นทางทั้งหมดให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน (๒๔๕๓-๒๔๖๘)
บ้านห้วยตะแคง (1908) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
การสร้างทางรถไฟนี้สะท้อนอิทธิพลของตะวันตกทั้งในเชิงกายภาพและแนวคิดอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนจากการนำเข้าวัสดุและวิทยาการจากตะวันตกเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ
วัดพระธาตุหริภุญไชย (1924) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ การสร้างทางรถไฟเป็นประจักษ์พยานของสำนึกเรื่อง “รัฐชาติ” อันเป็นแนวคิดจากตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นปกครองของเอเชียในสมัยนั้น ในอันที่จะเชื่อมหัวเมืองใหญ่น้อยเข้ากับเมืองหลวงอันเป็นศูนย์กลาง
วิหารลายคำ (1924) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ภาคเหนือของสยาม
พระภิกษุ วัดพระสิงห์ (1924) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
ขบวนช้างและเกวียน (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
เพื่อเสริมสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์ ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและการบริหารบ้านเมือง
หญิงสาวเมืองเรณูนคร (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
หญิงสาวเมืองเรณูนคร นครพนม นั่งบนหอหรือเกยหอ สำหรับเทียบช้างให้คนขึ้นหรือลงช้างได้สะดวก
เรือกลไฟลาแกรนเดีย (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
สยามประเทศจึงเริ่มกลายเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ขยายออกจากพระนคร
กระบวนเสด็จที่ทุ่งสร้าง (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
การตกแต่งภายใน (1907/1927) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
ท่ามกลางสารพันความทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งมวล ชาวสยามก็ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป
ภายในสถานที่ทำการ (1910/1927) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
คร่ำเคร่งกับเอกสารต่างๆ ในที่ทำงาน
ภาพตู้เอกสาร (1910/1927) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
หุ่นจำลองศาลาเฉลิมกรุง (1927/1933) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
แล้วก็ไปพักผ่อนหย่อนใจด้วยการชมภาพยนตร์ฝรั่งที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย
ภาพแบบจำลองของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในกรุงเทพฯ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๖๘-๒๔๗๘)
ศาลาเฉลิมกรุง (1927/1933) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง
โรงภาพยนตร์แห่งนี้เป็นของขวัญให้กับชาวกรุงเทพมหานครเนื่องในโอกาส การเฉลิมฉลองพระนครที่จะมีอายุครบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕
"ถ้าคุณรู้สึกมีอาการคลื่นเหียนวิงเวียนหาวเรอต่างๆเหล่านี้ระหว่างเดินทางควรแวะถามหายาหอม สุคนธ์โอสถ ที่ บุณยะรัตเวช อีก ๓๐-๔๐ก้าว จะถึงร้านตามประสงค์ " คำบรรยายจากป้าย
ศาลาเฉลิมกรุงเปิดให้บริการ (1933) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
โรงภาพยนตร์เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
โถงศาลาเฉลิมกรุง (1933) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre
โดย ทาร์ซาน มนุษย์วานร เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ที่ฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง
แตะเพื่อสำรวจ
เชิญชมนิทรรศการ เพื่อเพลิดเพลินไปกับ จตุตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมศิลปากร
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
มูลนิธิสิริวัฒนภักดี
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ
Wet Plate and Alternative Process Thailand