ปยุต เงากระจ่าง บิดาแห่งแอนิเมชันไทย

เรื่องราวของ ปยุต เงากระจ่าง ผู้บุกเบิกและสร้างภาพยนตร์การ์ตูนสำเร็จเป็นคนแรกของประเทศ และได้รับการขนานนามว่า "วอลท์ดิสนีย์เมืองไทย"

Clapper board and Cellulose film of "Sudsakorn" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

เส้นสายที่เคลื่อนไหว

ภาพวาดของปยุต ที่ประกอบขึ้นเป็น "สุดสาคร" ภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของไทย 

Sudsakhon 03 (2021-12-21) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

สุดสาครและม้านิลมังกร

Sudsakhon 01 (2021-12-21) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ภาพจากเรื่อง "สุดสาคร"

Sudsakhon 02 (2021-12-21) โดย Thai Film ArchiveและPayut Ngaokrachangหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ลายเส้นและสีสันอันโดดเด่น

Sketch design "Sudsakorn" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ภาพร่างก่อนลงสีของสุดสาคร

Payut Ngao-krachang (2021-11-10) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ปยุต เงากระจ่าง

เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2472 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวัยเด็ก ปยุตมีความชื่นชอบวิชาวาดเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ฝึกฝนการวาดลวดลายเส้นสายที่ผืนหาดทราย ใช้ก้ามปู เศษไม้ต่างๆแทนปากกา

Payut working on animation (2021-11-12) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

แรงบันดาลใจ

วันหนึ่งโชคชะตาพาให้เด็กชายปยุต ได้พบกับ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ช่างเขียนรูปชื่อดังจากเมืองหลวง ผู้ซึ่งใฝ่ฝันจะสร้างภาพยนตร์การ์ตูนไทย เสน่ห์ได้เอ่ยปากชวนปยุตว่า วันใดหากมีโอกาสไปกรุงเทพฯ ปยุตต้องไปช่วยเขาทำหนังการ์ตูนให้สำเร็จ

Sketch draft of Sudsakorn (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

จุดเริ่มต้น

เมื่อปยุตได้มีโอกาสเข้ามาเรียนศิลปะที่วิทยาลัยเพาะช่าง กรุงเทพฯ เขาพยายามตามหาเสน่ห์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจ แต่ก็คลาดกันตลอด จนกระทั่งมีผู้แจ้งข่าวแก่เขาว่า เสน่ห์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ทำให้ปยุตตัดสินใจสานฝันของเสน่ห์ และมุ่งมั่นเพื่อสร้างหนังการ์ตูนไทยให้สำเร็จ

ในขณะที่อยากสานฝันเรื่องการทำภาพยนตร์การ์ตูน ปยุต ได้คุยกับช่างทำบล็อค ซึ่งเคยทำงานอยู่กับร้านคุณเสน่ห์ ได้ความว่าคุณเสน่ห์ ใช้แผ่นฟิล์มเซลลูลอยด์ หรือพลาสติกใสๆ ในการทำการ์ตูน จึงเกิดไอเดียนำแผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์ที่โรงพยาบาลที่ได้จากการเยี่ยมญาติมาทดลองสร้างภาพยนตร์การ์ตูน

ด้วยการฝึกฝนอย่างมุ่งมั่น ในที่สุดเขาก็สร้างความฝันให้เป็นจริงขึ้นได้ในปี พ.ศ. 2498 กับผลงานการ์ตูนขนาดสั้น “เหตุมหัศจรรย์” นับว่านี่คือภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องแรก

Character design "The Policeman" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ทำการ์ตูนด้วยแผ่นเซลลูโลสใส

ถ่ายทำด้วย ฟิล์ม 16 มม. ความยาว 400 ฟุต ใช้เวลาฉายราว 10 นาที แต่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นทะเยอทะยาน เพราะใช้วิธีการวาดด้วยมือ ทีละภาพ ในวินาทีเดียวนั้นใช้ภาพมากถึง 24 รูป

The replica of metal can of film "The Miracle" (2021-12-21) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

กระป๋องฟิล์ม

กระป๋องบรรจุฟิล์มภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง เหตุมหัศจรรย์ ขนาด 16 มม. สีโกดักโครม ซึ่งฉลากหน้ากระป๋อง ปยุต ได้ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ

Payut and USIS (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

แรงสนับสนุน

หลังจากที่สร้างผลงานการ์ตูนสั้นเรื่องแรกได้สำเร็จ สำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) ซึ่งปยุตทำงานเป็นช่างเขียนอยู่ จึงส่งเขาไปศึกษาดูงานการทำการ์ตูนแอนิเมชันที่ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ปยุตได้ศึกษากระบวนการผลิตงานการ์ตูนตามมาตรฐานสากล

Payut Ngaokrachang working on animation (2021-11-12) โดย Thai Film Archive Payut Ngaokrachang และanimationหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ในขณะที่เขาทำงานกับสำนักงานข่าวสารอเมริกัน ปยุต ก็ได้ทำหนังการ์ตูนออกฉาย ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานออกมาบ้าง เช่น หนุมานเผชิญภัยครั้งใหม่ (2500)

ปยุต ได้ลาออกจากงานประจำที่สำนักงานข่าวสารอเมริกัน และมาก่อตั้งบริษัทรับผลิตภาพยนตร์โฆษณา คือ บริษัท ทริปเปิลฟิล์ม เขาได้จัดหาอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ การพิมพ์-ล้างฟิล์มภาพยนตร์ เพื่อสามารถทำงานได้ครบกระบวนการ โดยผลงานโฆษณาห้างไทยไดมารู เป็นหนึ่งในผลงานภาพยนตร์โฆษณาเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง

อีกหนึ่งผลงานภาพยนตร์โฆษณา จากบริษํททริปเปิลฟิล์ม ของ ปยุต เงากระจ่าง

The Shooting Stand (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

แท่นถ่ายการ์ตูน

ในขณะที่ศึกษาการทำภาพยนตร์การ์ตูนที่ประเทศญี่ปุ่น ปยุต ได้รู้จักกับเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งในการสร้างสรรค์งานแอนิเมชั่น นั่นก็คือ แท่นถ่ายทำภาพยนตร์การ์ตูน 

The Shooting Stand (2021-12-21) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

Animation stand

ซึ่งใช้ในการถ่ายทำภาพวาดการ์ตูนทีละภาพ และเมื่อถ่ายทำจนครบทุกภาพแล้ว จากการ์ตูนภาพนิ่งธรรมดาก็จะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีชีวิตได้อย่างมหัศจรรย์

The shooting stand "Sudsakorn" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

ออกแบบแท่นถ่ายการ์ตูน

ด้วยความที่มีหัวทางช่างและใฝ่รู้ ปยุตออกแบบและสร้างอุปกรณ์บางอย่างขึ้นใช้เอง โดยเฉพาะแท่นถ่ายทำภาพยนตร์การ์ตูนตามแบบที่เคยเห็นที่ญี่ปุ่น เนื่องจากเครื่องจริงมีราคาแพงเกินกว่าที่จะจ่ายได้

ปยุตออกแบและจ้างช่างเหล็กในเมืองไทยสร้างแท่นถ่าย แม้ไม่ดีวิเศษเท่าของต่างประเทศ แต่ก็ดีพอที่เขาจะใช้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนไทยขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศเรื่อง "สุดสาคร" จนสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2522

Storyboard of "Sudsakorn" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

สตอรี่บอร์ดสุดสาคร

ถึงแม้จะเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเป็นการสร้างภาพจากจินตนาการ แต่ยังจำเป็นต้องมีการวาดสตอรี่บอร์ด เพื่อสร้างโครงเรื่องและลำดับการเล่าเรื่อง เพื่อให้แต่ละฉากเป็นไปตามความต้องการของผู้สร้าง

เบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน สุดสาคร ด้วยเครื่องถ่ายอนิเมชั่นที่ ปยุต เงากระจ่าง ออกแบบเอง

Poster of Sudsakorn (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

เส้นทางสู่ "สุดสาคร"

ปยุต เจรจาเงินลงทุนกับบริษัท จิรบันเทิง ตกลงกันโดยวาจาว่าทางจิรบันเทิงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนปยุตเป็นฝ่ายสร้างสรรค์และผลิต โดยรายรับจากหนังการ์ตูนเรื่องนี้จะแบ่งกัน 50:50

เส้นทางสู่ "สุดสาคร"

ปยุต ได้เชิญครูประสิทธิ์ พิมล มาช่วยเขียนบทให้ โดยคัดเลือกเรื่องราวมาจาก 3 ตอนของนิทานพื้นบ้าน ได้แก่ ตอนกำเนิดสุดสาคร สุดสาครเข้าเมืองการเวก และ สุดสาครตามหาพ่อ

The award of "Sudsakorn" (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

"สุดสาคร" ความภูมิใจของแอนิเมชันไทย

ปยุต ต้องเขียนภาพมากกว่า 66,000 ภาพ เพื่อสร้างภาพยนตร์ความยาว 82 นาที "สุดสาคร" ออกฉายครั้งแรกวันที่ 13 เมษายน 2522 ที่โรงหนังเอเธนส์ ราชเทวี ทำรายได้มากถึง 2 ล้านบาท จนบริษัทโกดักมอบโล่รางวัลหนังทำรายได้สูงสุดให้เป็นกรณีพิเศษ

Payut Ngao-krachang (2021-11-12) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

Payut and monkey (2021-11-12) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

Payut Ngaokrachang award medal (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

เหรียญรางวัล ปยุต เงากระจ่าง

เมื่อมีการจัดการประกวดภาพยนตร์สั้นขึ้น ภาพยนตร์การ์ตูนซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของภาพยนตร์ ได้จัดทำเหรียญรางวัลเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนรายแรก ปยุต เงากระจ่าง

Payut's interview (2021-11-12) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

เกษียณจากงานการ์ตูน

เมื่อเลิกกิจการทำภาพยนตร์แล้ว ปยุตเก็บรักษาแท่นถ่ายทำภาพยนตร์การ์ตูนของเขาไว้ในสภาพอย่างดีที่บ้านพัก ยามแขกไปใครมาเยี่ยม โดยเฉพาะพวกนักเรียนนักศึกษาที่ชอบมาขอวิชาความรู้ เขาจะพาไปชมแท่นมหัศจรรย์นี้

Payut and his animation stand (2021-11-20) โดย Thai Film Archiveหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน)

คารวะผู้บุกเบิกการ์ตูนไทย

ปยุต เงากระจ่าง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ด้วยวัย 81 ปี นี่เป็นเรืองราวชีวิตของผู้สร้างการ์ตูน ที่เต็มไปด้วยการผจญภัยและอุปสรรคมากมายไม่ต่างจากหนังการ์ตูนที่เขาสร้างเลย

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง

สนใจเรื่อง Food ใช่ไหม

รับข้อมูลอัปเดตจาก Culture Weekly ที่ปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ

เรียบร้อยแล้ว

Culture Weekly ฉบับแรกจะมาถึงในสัปดาห์นี้

หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด