ธงชาติไทย

ประวัติและวิวัฒนาการธงชาติไทย

ธงแดงเกลี้ยง (1680)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงแดงเกลี้ยง ธงสัญลักษณ์แบบแรกของสยาม

ธงสัญลักษณ์ชาติสยามแบบแรกมีลักษณะเป็นธงแดงเกลี้ยง

ภาพวาดเรือกำปั่นและแม่น้ำเจ้าพระยา (1800) โดย The first symbol flag of Siamพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงแดงเกลี้ยง ธงสัญลักษณ์แบบแรกของสยาม

การใช้ธงแดงเกลี้ยงเป็นสัญลักษณ์ชาติสยามถูกใช้บนเรือกำปั่นจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยา (1800)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

แผนที่กรุงเทพมหานคร

การใช้ธงแดงเกลี้ยงชักบนกำปั่นที่ล่องค้าขายสามารถพบเห็นได้เป็นจำนวนมากในแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ๆ บางกอก

ธงวงจักรสีขาวบนพื้นแดง (1800)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

การใช้สัญลักษณ์แห่งราชวงศ์จักรีวางไว้กลางธงแดง

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้นำวงจักรสีขาวอันเป็นส่วนหนึ่งของนามแห่งราชวงศ์จักรีวางไว้กลางธงแดง และใช้ชักเฉพาะบนกำปั่นหลวง ส่วนราษฎรทั่วไปยังคงใช้ธงแดงเกลี้ยง

ผ้าพันคอโบราณ (1800)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ผ้าพันคอโบราณที่แสดงถึงธงชาติที่สำคัญสำหรับกัปตันเดินเรือรวมไปถึงธงวงจักรธงชาติสยาม

หนังสือธงของประเทศเยอรมนี (1826)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

หนังสือธงของประเทศเยอรมนีแสดงถึงธงวงจักรซึ่งเป็นธงแบบแรกสุดของชาติสยาม (ปี พ.ศ. 2369) แต่ด้วยความเข้าใจผิดได้บันทึกรูปวงจักรเป็นดวงอาทิตย์

หนังสือธงของประเทศเยอรมนีแสดงถึงธงวงจักรซึ่งเป็นธงแบบแรกสุดของชาติสยาม (ปี พ.ศ. 2369) แต่ด้วยความเข้าใจผิดได้บันทึกรูปวงจักรเป็นดวงอาทิตย์

ธงช้างเผือกในวงจักร (1809)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

การเพิ่มรูปช้างเผือกในวงจักรบนธงชาติ

ขึ้นรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงได้ช้างเผือกเอก รวม 3 ช้าง พระองค์จึงนำรูปช้างเผือกวางกลางวงจักรเป็นธงชาติสยามแบบใหม่ ส่วนราษฎรยังคงใช้ธงแดงเกลี้ยง

ธงช้างเผือก (1840)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

การปรับแบบธงชาติสยาม

ช่วงรัชกาลที่ 3 ได้มีการค้นพบหลักฐานงานพิมพ์ที่แสดงถึงการใช้ธงช้างเผือกที่ปราศจากวงจักร ในปี พ.ศ. 2380 โดยธงช้างเผือกที่ปราศจากวงจักรได้ถูกชักทั้งบนเรือหลวงและเรือราษฎร

ผังธงโลก, Andriveau - Goujon (1837), 1837, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ผังธงโลกพิมพ์ในฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2380 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แสดงรูปแบบธงช้างเผือก ธงชาติสยาม

เอกสารบันทึกการใช้ธงช้างเผือก (1843)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

หลักฐานการใช้ธงช้างเผือกเป็นธงชาติสยามตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ในเอกสาร Supplement of the Singapore Free Press

หลักฐานการใช้ธงช้างเผือกเป็นธงชาติสยามตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ในเอกสาร Supplement of the Singapore Free Press

รูปแบบต่างๆ ของธงช้างเผือก, 1843, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

รูปแบบธงช้างเผือกในลักษณะต่างๆ ที่เริ่มมีการใช้ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 จนถึง รัชกาลทื่ 6

ไปรษณียบัตรและบัตรสะสมที่แถมกับสินค้า, 1900, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ธงช้างเผือก ได้ถูกนำมาพิมพ์อยู่บนสิ่งของต่างๆ มากมายในช่วงรัชการที่ 5 เพื่อแสดงถึงการเป็นสัญลักษณ์แทนชาติสยาม

ธงช้างเผือกบนผ้าไหม, 1900, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ธงช้างเผือก สัญลักษณ์ของชาติสยาม พิมพ์บนผ้าไหมเพื่อเป็นของกำนัล

ธงช้างเผือกบนกำมะหยี่, 1900, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ธงช้างเผือก สัญลักษณ์ของชาติสยาม พิมพ์บนผ้ากำมะหยี่เพื่อเป็นของกำนัล

เข็มกลัดธงช้างเผือก, 1900, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ธงช้างเผือก สัญลักษณ์แห่งชาติสยาม พิมพ์บนวัสดุเซลลูลอยด์

ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

การปรับแบบธงช้างเผือก

ขึ้น พ.ศ. 2459 รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนรูปแบบธงช้างเผือกจากรูปแบบช้างเผือกเปล่าเป็นรูปแบบธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็นธงชาติสยามสำหรับหน่วยงานราชการ

ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นบนงานพิมพ์ต่างๆ, 1916, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

ตัวอย่างงานพิมพ์รูปธงช้างเผือกยืนแท่นบนโปสการ์ดและของที่ระลึก

ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นบนปลอกหมอนและผ้าเช็ดหน้า (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นถูกพิมพ์บนปลอกหมอนและผ้าเช็ดหน้าแสดงถึงสยามได้ร่วมเป็นหนึ่งในประเทศสัมพันธมิตรที่เข้าร่วมในมหาสงคราม

ธงของประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมนี

ตัวอย่างธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเก่า (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ผืนธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นที่ใช้ชักประดับจริงในสมัยรัชกาลที่ 6

ธงชาติสยามแบบริ้วแดงขาว (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงชาติสำหรับประชาชน

ในปี พ.ศ. 2459 นอกจากการเปลี่ยนแปลงธงชาติสยามเป็นแบบธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นแล้ว รัชกาลที่ 6 ยังทรงประกาศใช้ธงแดงขาวห้าริ้วเป็นธงค้าขายและถือเป็นธงสำหรับประชาชนอีกด้วย

ธงแดงขาวห้าริ้ว (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงแดงขาวห้าริ้วหรือธงชาติสำหรับประชาชนผืนที่ใช้จริงซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยากมาก และนับเป็นต้นแบบของธงไตรรงค์ในปีถัดไป

เกมธงนานาชาติ (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงแดงขาวห้าริ้วได้ถูกนำไปพิมพ์อยู่ในเกมที่ชื่อว่า เกมส์ธงชาติ (The Game of Flags)

ธงนานาชาติพิมพ์บนกระดาษ (1916)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ชุดธงกระดาษสำหรับแขวนรวมธงชาติประเทศสัมพันธมิตรที่ร่วมรบกันในมหาสงคราม ทำในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ธงแดงขาวห้าริ้วเป็นธงชาติสยาม

ธงไตรรงค์ (1917)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

ธงชาติไทยปัจจุบัน

ขึ้นปี พ.ศ. 2460 สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสงคราม รัชกาลที่ 6 จึงมีพระราชประสงค์เปลี่ยนสีแดงตรงกลางของธงค้าขายให้เป็นสีน้ำเงินแก่ดังเช่นธงของฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมพระราชทานชื่อว่า ธงไตรรงค์ และใช้เป็นธงชาติจนถึงปัจจุบัน

ธงไตรรงค์บนผ้าไหม, 1917, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

งานผ้าไหมที่ปักเป็นรูปธงชาติไทย สำหรับเป็นของที่ระลึก

ธงไตรรงค์บนผ้าไหม, 1917, จากคอลเล็กชันของ: พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

งานผ้าไหมที่ปักเป็นรูปธงชาติไทย สำหรับเป็นของที่ระลึก

ธงชาติไทยบนบัตรสะสมสินค้า (1917)พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

งานพิมพ์ธงชาติไทยบนการ์ดที่แถมกับสินค้า

งานพิมพ์ธงชาติไทยบนการ์ดที่แถมกับสินค้า

งานพิมพ์ธงชาติไทยบนการ์ดที่แถมกับสินค้า

งานพิมพ์ธงชาติไทยบนการ์ดที่แถมกับสินค้า

เครดิต: เรื่องราว

พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย

พฤฒิพล ประชุมผล (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์)
จันทกาญจน์ คล้อยสาย (รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์)

วรพจน์ ส่งเจริญ (ออกแบบ)
เซน นันทวิญญู (ช่างภาพ)
วิพทวัส หรูจิตตวิวัฒน์ (ช่างภาพ)

เครดิต: สื่อทั้งหมด
เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง
หน้าแรก
สำรวจ
เล่น
ใกล้เคียง
รายการโปรด